โรคปอด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเกี่ยวข้องกับโรคถุงลมโป่งพองอย่างไร

Views

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นกลุ่มของโรคปอดอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของประชากรทั่วโลก ลักษณะสำคัญของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบเสียหายเนื่องจากได้รับแก๊สหรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดลมค่อยๆ ตีบแคบลง หรือถูกอุดกั้นโดยไม่อาจฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อีก กลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ โรคถุงลมโป่งพอง และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นสองโรคที่มักพบร่วมกันเสมอ นอกจากนี้ยังมีโรคหืด หรือที่เรียกกันว่า โรคหอบหืด และโรคหลอดลมพองที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดเนื่องจากในควันบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด สารและแก๊สเหล่านี้ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดลมและถุงลมจนนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง ทำให้ปอดเสื่อมสมรรถภาพในที่สุด และผู้ที่สูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานานจึงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ขณะเดียวกันผู้ที่ได้รับควันบุหรี่แม้จะไม่ได้สูบก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควันพิษ รวมถึงการหายใจเอาสารเคมีบางอย่างเข้าไปในปอดติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นกรณีที่มักเกิดกับผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีละอองสารเคมี เช่น เหมืองถ่านหิน งานเชื่อมโลหะ รวมถึงการเผาไหม้เชื้อเพลิงในการประกอบอาหารและขับเคลื่อนเครื่องจักรต่างๆ โรคทางพันธุกรรม

อาการของโรคในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการปรากฎ จนกระทั่งปอดถูกทำลายมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมากโดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน รู้สึกเหนื่อยหอบ หมดเรี่ยวแรง หายใจ

ลำบาก แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อยๆ บางรายอาจมีอาการอื่น ๆ          ร่วมด้วย เช่น เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด ปากและเล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วง เมื่อโรคลุกลามมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยหอบมากจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ น้ำหนักลดลงอย่างมาก ในระยะท้ายของโรคมักพบการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ภาวะหายใจวาย และหัวใจด้านขวาล้มเหลว ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ การสูบบุหรี่  

การป้องกันตนเองโดยการไม่สูบบุหรี่ และเลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ที่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศและการอยู่ในสถานที่ที่มีละอองสารเคมี และถ้าหากจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีละอองสารเคมี ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ เช่น หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองและสารเคมี และการตรวจสุขภาพปอดอย่างสม่ำเสมอ

          สรุป โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคในกลุ่มเดียวกัน โดยมีปัจจัยเสี่ยงร่วม คือ การสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานาน ดังนั้น ควรหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง โดยการไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่ มลพิษในอากาศ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีละอองสารเคมี

ขอขอบคุณ:healthydee.moph.go.th

Leave a Reply