โรคอ้วน

กินอย่างไร… ให้ลดพุง

Views

“ความอ้วน” นอกจากทำให้สวยน้อยลงแล้วยังเป็นสาเหตุของสารพัดโรค ยิ่งอ้วนก็ยิ่งมีโรคได้หลายอย่างมากขึ้น ที่ผ่านมาเรารู้จักแต่คำว่าดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นตัวชี้บ่งว่าอ้วนหากมี BMI ตั้งแต่ 25 กก./ม2 ขึ้นไป แต่ในระยะหลังพบว่าความเสี่ยงต่อโรคมีมากโดยเฉพาะผู้ที่มีลักษณะ อ้วนลงพุง คือ จะมีสะโพกเล็ก, ไหล่กว้าง และลงพุง ซึ่งเป็นลักษณะอ้วนที่อันตรายที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าคนอ้วนสองคนที่มีน้ำหนักตัวมากเท่ากัน คนอ้วนที่ลงพุงมากจะเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือดได้มากกว่าคนอ้วนที่สะโพกใหญ่

อ้วนลงพุง เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในบริเวณช่องท้องมากกว่าปกติ ในขณะเดียวกันก็สะสมในอวัยวะที่สำคัญ และอันตรายได้ง่ายด้วย

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในช่วง 5-6 ปีมานี้พบว่า คนไทยอายุ 35 ปี ขึ้นไปมีปัญหาลงพุงเกือบร้อยละ 30 หรือประมาณ 12 ล้านคน หรืออาจกล่าวได้ว่าในคนไทย 3 คนจะพบคนอ้วนลงพุง 1 คนหากถูกจัดเข้ากลุ่มอ้วนลงพุงแล้วจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนลงพุง หรือ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า เมตาบอลิคซินโดรม (Metabolic Syndrome) จากการศึกษาในโรงพยาบาลรามาธิบดีโดยการวัดสัดส่วนของร่างกายร่วมกับตรวจผลเลือด พบว่าคนที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 23.0-24.9 กิโลกรัม/เมตร2 ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ท้วม หรือเริ่มอ้วน [ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก(กิโลกรัม)/ส่วนสูง(เมตร)/ส่วนสูง(เมตร)] จะมีคนอ้วนลงพุงประมาณครึ่งหนึ่ง และครึ่งหนึ่งในคนจำนวนนี้จะมีผลเลือดผิดปกติเข้าได้กับเป็นโรคอ้วนลงพุง หรืออาจกล่าวโดยคร่าวๆว่าคนที่ดูท้วมๆก็มีโอกาสเป็นโรคอ้วนลงพุงได้ร้อยละ 25 และเมื่อดัชนีมวลกายมากขึ้นไปอีกก็จะมีอกาสเป็นโรคอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้นอีก และอาจมากถึงประมาณร้อยละ 50

ลงพุงแล้ว…เมื่อไหร‹จึงเป็น โรคอ้วนลงพุง

เมื่อพบ มีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว ในชาย และเส้นรอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้วในหญิงแล้ว พร้อมกับพบปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีกตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปใน 4 อย่างต่อไปนี้ ก็จัดได้ว่าคุณเป็น “โรคอ้วนลงพุง” แล้ว ปัจจัยเสี่ยง 4 อย่าง ได้แก่

  1. ความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
  2. ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (Triglyceride > 150 mg/dL)
  3. ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (Fasting Plasma Glucose > 100 mg/dL)
  4. ระดับโคเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด หรือ High DensityLipoprotein (HDL-cholesterol) น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ชาย และน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้หญิง

สาเหตุของ โรคอ้วนลงพุง เกิดจากอะไร

แม้ว่ากรรมพันธุ์เป็นสาเหตุหนึ่งแต่จากผลการศึกษาพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคที่คล้ายคลึงกัน คือ ชอบรับประทานอาหารที่มากเกินความจำเป็นโดยเฉพาะอาหารหวานมันน้ำหวานในรูปต่างๆ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแม้เพียงการเคลื่อนไหวตามปกติที่นานหน่อยpp10

ทุกข์จากโรคอ้วนลงพุง

นอกจากจะต้องแบกรับความทุกข์ที่เกิดจากความอ้วนเช่น ข้อกระดูกเสื่อม การหายใจไม่อิ่ม ทำให้ง่วงซึม หายใจ
ไม่เต็มปอด เหมือนคนอ้วนแบบอื่นแล้วคนที่เป็นโรคอ้วนลงพุงยังมีโอกาสสูงมากๆ ที่จะเป็นโรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, ภาวะหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งรุนแรงถึงขั้นทำให้เป็นอัมพาต หรือเสียชีวิตได้มากกว่าคนอ้วนชนิดไม่ลงพุงเป็นเท่าทวี

วิธีใดบ้างที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาโรคอ้วนลงพุง

มีการศึกษาพบว่าการลดน้ำหนักตัวลงไปเพียง 5-10 เปอร์เซ็นต์ จากน้ำหนักที่เป็นอยู่ ก็สามารถช่วยให้การทำงานต่างๆ ของร่างกายดีขึ้นได้ ลดโอกาสเป็นเบาหวานได้เกือบครึ่ง ลดไขมัน และความดันโลหิตสูง ฯลฯ ซึ่งทำได้โดย :

  1. ออกกำลังกายบ้าง ประมาณวันละ 30 นาทีขึ้นไป 3 ครั้ง/สัปดาห์ หรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างกระฉับกระเฉง เช่น เดินอย่างกระฉับกระเฉง วันละ 1 หมื่นก้าว หรือทำกิจกรรมเคลื่อนไหวกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องตามสมรรถภาพร่างกายของpp8แต่ละคนก็จะได้ผลดีกว่าการนั่งเฉยๆ
  2. จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม ไม่ให้เกินวันละ 1 ส่วน เช่น ไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 แก้ว สำหรับผู้หญิง หรือ
    2 แก้ว สำหรับผู้ชาย และไม่ควรดื่มทุกวัน เพราะโอกาสดื่มเกินมีมากกว่าโอกาสขาดแคลนการดื่ม
  3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารอย่างถูกต้องและจริงจัง เช่น ลดการทานอาหารมีกากใยน้อย เช่น ข้าวขาว, ขนมปังขาว, น้ำตาล, น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มหวานๆ อีกหลายชนิด แต่เพิ่มการทานอาหารที่มีปริมาณกากใยมาก เช่น ข้าวกล้อง, ขนมปังโฮลวีท, ผลไม้ที่ไม่หวานจัดอาหารจำพวกถั่วเป็นของดีมีกากใยมาก แต่ก็ให้พลังงานมาก ถ้ากินมากเกินไป อาหารจำพวกผักเป็นสิ่งที่บริโภคได้มากโดยไม่จำกัด ลดการทานอาหารประเภททอดที่ต้องใช้น้ำมันมากๆ ควรเลือกทานอาหารประเภทนึ่ง หรือต้ม หรือย่าง, หลีกเลี่ยงการปรุงรสเพิ่ม แต่ใช้ความหวานตามธรรมชาติจากอาหารเป็นเครื่องปรุงโดยธรรมชาติ หากจำเป็นสามารถใช้น้ำตาลเทียมช่วยได้ เพราะผู้ป่วยเบาหวานก็ใช้อยู่เป็นประจำ
Thai-Otsuka-49A-900x1200

หากไม่มีเวลาสรรหาอาหารดังกล่าวข้างต้น ปัจจุบันมีเครื่องดื่มซึ่งถูกผลิตเป็นอาหารทางการแพทย์ หรืออาหาร
สำหรับสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งใช้แก้ปัญหาทั้งด้านไขมัน และน้ำตาลโดยมีส่วนประกอบครบ 5 หมู่ โดยมีการกระจายตัวของสารอาหารอย่างพอเหมาะ โดยมีโปรตีนประมาณร้อยละ15 ของพลังงาน มีไขมันไม่เกินร้อยละ 30 โดยเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่ มีคาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 55-60 นอกจากนั้น มีการเสริมเกลือแร่และวิตามินให้ตามกำหนดของความต้องการสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน (RDA) ในคาร์โบไฮเดรตนั้น ควรมีคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยช้าๆ (ลดการพุ่งขึ้นของน้ำตาล) มีใยอาหารพิเศษที่มีส่วนประกอบของ FOS (Fructo Oligosaccharide) ซึ่งเป็นใยอาหารที่สามารถละลายในน้ำได้ดี ช่วยขวางกั้น และชลอการดูดซึมของน้ำตาล และไขมันลงไปอีก ช่วยการขับถ่ายให้ดีขึ้นนอกจากนั้นยังสามารถช่วยลดโอกาสท้องเสียได้ด้วย เนื่องจาก FOS ช่วยส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่ดีได้แก่ lactobacilli ให้เจริญช่วยดูแลสุขภาพของลำไส้ใหญ่ ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่เป็นพิษลุกลามจนทำให้ลำไส้อักเสบและถ่ายท้อง

อาหารทางการแพทย์นั้น สามารถใช้ดื่มแทนอาหารทั้งมื้อ หรือเป็นอาหารเสริมเพื่อลดน้ำหนัก ลดไขมันและบำรุง สุขภาพให้ดี

เอกสารอ้างอิง

  1. งานวิจัยของโรงพยาบาลรามาธิบดี (ยังไม่ตีพิมพ์) ปี 2549 โดย ศ.นพ.สุรัตน์ โคมินทร์ และคณะ
  2. รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546 โดยกอง โภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  3. สุรัตน์ โคมินทร์ วลัย อินทรัมพรรย์ การลดน้ำหนักอย่างง่าย แสงทวีการพิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2530

ขอบคุณข้อมูลจาก : .thaiotsukanutrition

Leave a Reply