โรคอ้วน

หน้าท้องยื่น ลงพุง เกิดจากอะไร ลดอย่างไร?

Views

ปัญหาเรื่องของการมีหน้าท้องยื่น หรือการอ้วนลงพุง กำลังเป็นปัญหาที่คุกคามคนไทย และผู้คนทั่วโลกเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะทำให้ดูอ้วนแล้ว การอ้วนลงพุงยังสามารถนำไปสู่การเป็นโรคร้ายอีกหลายชนิดได้ การอ้วนลงพุงนั้น จะแตกต่างกับการอ้วนแบบอื่น ๆ คือจะอ้วนเฉพาะที่หน้าท้องเท่านั้น เราอาจจะเห็นบางคนผอม สูง แต่เมื่อเปิดเสื้อขึ้นมาก็เห็นการลงพุง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่แปลกพอสมควร เพราะฉะนั้นเราจึงได้รวบรวมเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับการมีหน้าท้องยื่นหรืออ้วนลงพุงมาให้ศึกษากัน ใครที่มีปัญหานี้อยู่ ไม่ควรพลาดเด็ดขาด!

หน้าท้องยื่นและอ้วนลงพุงเป็นอย่างไร?

ภาวะที่ร่างกายมีหน้าท้องยื่น หรืออ้วนลงพุง มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่าเป็นภาวะ Metabolic Syndrome ซึ่งเกิดการที่กระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายมีการทำงานที่ผิดปกติจากคนทั่วไป ผลก็คือ ทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่หน้าท้องในปริมาณมาก จึงทำให้หน้าท้องยื่นออกมาจากลำตัว และมีการขยายของรอบเอวหนายิ่งขึ้นกว่าเดิมจนเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการใด ๆ ที่น่าเป็นห่วงนอกจากเรื่องของหน้าท้องใหญ่ แต่สิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง ก็คือความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิต และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนทำให้เป็นโรคเบาหวาน ในกรณีที่มีการสะสมของไขมันในหน้าท้องในเวลาที่ยาวนาน อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ เป็นเหตุให้เกิดภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมาแพ็กเกจที่คุณอาจสนใจเข้าร่วมงานวิจัยทางการแพทย์วันนี้ค้นหางานวิจัยที่คุณสามารถเข้าร่วมได้ เพื่อรับการรักษาใหม่ที่อาจทำให้อาการของคุณดีขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในการทำดีเพื่อสังคมกด

หน้าท้องยื่น และอ้วนลงพุง เกิดจากอะไร?

นอกจากเรื่องของระบบเผาผลาญที่มีการทำงานผิดปกติแล้ว ยังสามารถพบปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุงได้อีก เช่น

  • มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน (เป็นโรคอ้วน)
  • ไม่ชอบออกกำลังกาย
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • มีภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • ป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เป็นโรคไขมันพอกตับ
  • เป็นผู้สูงอายุ (เซลล์มีการเสื่อมสภาพ จนทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย)

การเป็นโรคอ้วนลงพุงวัดได้จากหลักเกณฑ์อะไรบ้าง?

หลายคนอาจสงสัยว่า ต้องอ้วนแค่ไหนถึงจะเป็นโรคอ้วนลงพุง แล้วมีหลักเกณฑ์อะไรในการวัดที่เป็นมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งผู้ที่มีอาการอ้วนลงพุงนั้น จะต้องใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ในการวัด

  • มีเส้นรอบเอวตั้งแต่ 80 เซนติเมตรขึ้นไปสำหรับผู้หญิง และ 90 เซนติเมตรขึ้นไปสำหรับผู้ชาย
  • มีไขมันดี (HDL) ต่ำกว่า 50 mg/dL สำหรับผู้หญิง และต่ำกว่า 40 mg/dL สำหรับผู้ชาย
  • มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 mg/dL
  • มีระดับความดันโลหิตสูงกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท

วิธีลดหรือป้องกันภาวะอ้วนลงพุง ทำได้อย่างไร?

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ภาวะอ้วนลงพุงนั้น มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายต่าง ๆ มากมายจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่เข้าข่ายการเป็นโรค “อ้วนลงพุง” ควรใช้วิธีการดังต่อไปนี้เพื่อรักษาหรือลดภาวะนี้ให้หายไปโดยเร็วที่สุด และสำหรับใครที่ยังไม่ได้เป็นโรคนี้ ก็สามารถใช้วิธีการเหล่านี้ป้องกันได้เช่นกัน

  1. เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารที่ใส่น้ำมันในปริมาณมาก รวมถึงไข่และมันจากอาหารทะเล แนะนำให้ทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ เช่น อกไก่ หมูเนื้อแดง ไข่ขาว เนื้อปลา และในทุกมื้อควรทานผักที่มีไฟเบอร์สูงอย่างน้อยร้อยละ 50 เพื่อที่จะได้อิ่มท้องได้นานและไม่หิวบ่อย
  2. งดทานอาหารที่มีความเค็ม เพื่อไม่ให้มีโซเดียมตกค้างอยู่ในร่างกายในปริมาณมาก เนื่องจากโซเดียมนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวบวม เมื่อลดความเค็ม (ลดโซเดียม) ลงได้ ก็จะช่วยลดพุงได้เป็นอย่างดี พร้อมกับลดระดับของความดันโลหิตให้ต่ำลงอีกด้วย ดังนั้นใครที่ชอบทานอาหารที่มีรสเค็มมากๆ ก็มาเริ่มลดความเค็มให้น้อยลงตั้งแต่วันนี้กันเลย
  3. ออกกำลังกายบ้าง ถึงแม้ว่าการออกกำลังกายอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับคนอ้วน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำไม่ได้ ลองเริ่มจากการวิ่งเบา ๆ เป็นเวลา 30 นาทีทุกวัน แล้วค่อย ๆ ใช้เวลานานขึ้นเรื่อย ๆ เท่านี้หน้าท้องที่เคยยื่นออกมา ก็จะยุบลงไปเหมือนกับไม่เคยมีพุงเลยล่ะ นอกจากนี้ก็ยังมีท่าออกกำลังกายง่ายๆ เพื่อลดพุงโดยเฉพาะอีกด้วย เช่น ท่าซิทอัพ เป็นต้น
  4. งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้ง 2 สิ่งนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอ้วนลงพุง เนื่องจากมีสารพิษที่จะไปขัดขวางการทำงานของระบบย่อยอาหาร และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

ในกรณีที่ปฏิบัติตามทั้ง 4 ข้อแล้ว แต่ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยารักษาควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เกิดการกระเตื้องในการรักษา รวมทั้งช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

โรคอ้วนลงพุง เป็นโรคอันตรายที่ไม่ควรละเลยเป็นอันขาด เพราะอาจส่งผลให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เริ่มต้นทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอตั้งแต่วันนี้ เพื่อชีวิตที่ยืนยาวของเราในอนาคต

5 แหล่งข้อมูลกองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่nhs.uk, Obesity (https://www.nhs.uk/conditions/obesity/)medicalnewstoday.com, medicalnewstoday.comObesity (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323551.php), November 2, 2018healthline.com, Obesity (https://www.healthline.com/health/obesity), July 16, 2018ดูแหล่งข้อมูลเพิ่ม


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : honestdocs

Leave a Reply