โรคหลอดเลือดสมองตีบ

หลอดเลือดสมองตีบตัน รักษาได้ ด้วยยาละลายลิ่มเลือด

Views

  โรคหลอดเลือดสมองหรือบางคนรู้จักกันในชื่อของ ” อัมพฤกษ์ อัมพาต ” คือ โรคที่เกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง(1) โรคหลอดเลือดสมองนั้นแบ่งเป็น 2 แบบ คือ โรคหลอด
เลือดสมองตีบหรืออุดตัน และ โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดสมองนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากก่อให้เกิดความพิการและสูญเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ
ของคนไทย

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองนั้น มีด้วยกันหลักๆ คือ
          1. อายุที่เพิ่มขึ้น
          2. พันธุกรรม, เพศ, เชื้อชาติ
          3. ภาวะความดันโลหิตสูง
          4. โรคเบาหวาน
          5. ภาวะไขมันในเลือดสูง
          6. สูบบุหรี่
          7. ดื่มสุรา
          จากปัจจัยเสี่ยงข้างต้นจะเห็นได้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงที่เราไม่สามารถควบคุมได้ คืออายุ เพศ เชื้อชาติและพันธุกรรม และปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ซึ่งหากเราสามารถควบคุมภาวะต่างเหล่านี้ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เราก็จะสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองไปได้อย่างมาก
ทีเดียว

อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง
          อาการของโรคหลอดเลือดสมองนั้นสาเหตุเกิดจากการที่เนื้อเยื่อสมองไม่มีเลือดไปเลี้ยงทำให้เซลล์ของสมองขาดสารอาหารจึงเกิดอาการผิดปกติในส่วนการทำงานของสมอง ซึ่ง
สมองนั้นควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกายนั่นเอง

สำหรับอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญ คือ

ภาพจากเว็บไซต์
http://home.kku.ac.th/stroke/index.php
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 6-7-59

          1. มีอาการอ่อนแรงหรือชาของแขนขา โดยมักเป็นข้างใดข้างหนึ่งของร่างกายอย่างเฉียบพลัน
          2. ปากเบี้ยว มุมปากตก ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัดหรือพูดไม่รู้เรื่อง
          3. ตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น
          4. เวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้
          5. ปวดศีรษะรุนแรง
ซึ่งอาการดังกล่าวนั้นมักจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือทันทีทันใด

การตรวจวินิจฉัยของโรคหลอดเลือดสมอง
          การตรวจวินิจฉัยภาวะโรคหลอดเลือดสมองนั้น ประกอบไปด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายจากแพทย์ และที่สำคัญคือการทำ เอ็กซเรย์สมอง ซึ่งการเอ็กซเรย์ดูเนื้อสมองนั้นใน
ปัจจุบันมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง และ เอ็กซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

ภาพจากเว็บไซต์
http://www.sbs.com.au/topics/life/health/article/2016/05/11/low-dose-controversial-stroke-drug-rtpa-could-save-lives,http://www.ems1.com/ems-products/books/articles/929582-tPA-for-Stroke-The-Story-of-a-Controversial-Drug/
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 6-7-59

           ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าวิทยาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร อินเตอร์เน็ท ได้พัฒนาไปอย่างมาก ทางการแพทย์ก็เช่นกัน ปัจจุบันการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันนั้น
สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อสลายลิ่มเลือดที่ไปอุดหลอดเลือดสมองอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ป่วยจะสามารถรับยาได้นั้น จำเป็นจะต้องได้ยาภายใน 4 ชั่วโมง 30 นาที(2) หลังจาก
เกิดอาการขึ้น ดังนั้นหากสงสัยว่ามีอาการผิดปกติที่อาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมองแล้ว จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลทันที สำหรับโรคหลอดเลือดสมองแตกนั้นการรักษานั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่ง สาเหตุ และขนาดก้อนเลือด ซึ่งอาจมีการรักษาด้วยการผ่าตัด(3)
          การรักษาที่สำคัญทั้งโรคหลอดเลือดสมองตีบตันและโรคหลอดเลือดสมองแตกคือค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงการทำกายภาพบำบัดฟื้นฟู เพื่อให้กลับมาใช้
ชีวิตได้ตามปกตินั่นเอง หากท่านหรือคนใกล้ชิดมีอาการสงสัยภาวะโรคหลอดเลือดสมองควรรีบเข้าโรงพยาบาลหรือพบแพทย์โดยด่วน

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง(4)
          นอกจากการรักษาที่มีความสำคัญ นอกจากนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการป้องกัน การป้องกันความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองนั้นคือป้องกันปัจจัยเสี่ยงนั่นเอง
          1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
          2. ควบคุมความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
          3. ไม่สูบบุหรี่
          4. ไม่ดื่มสุรา
          5. ผู้ที่เป็นโรคแล้วจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดโรคซ้ำและพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ



เอกสารอ้างอิง
……………………………………………………………………………………………………………
(1)สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ; 2556.
(2)สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2;2555
(3)สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองแตกสำหรับแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 1 ; 2556.
(4)สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แนวทางลดเสี่ยง… เลี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ( NCDs),

ขอขอบคุณข้อมูล:stou.ac.th

Leave a Reply