การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองตีบ (Stroke Rehabilitation)
จากการสำรวจผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองตีบ หลังออกจากโรงพยาบาล พบว่าผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 60 กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดต่อเนื่องเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน ซึ่งแต่เดิมอาการของผู้ป่วยหลายๆท่าน อยู่ในระดับที่สามารถฟื้นคืนมาเป็นปกติได้ หรืออย่างน้อยก็สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างมากที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงจากสาเหตุที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่เรื่องผิดที่ประชาชนทั่วไปจะไม่ทราบถึงความสำคัญของการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองตีบ จึงไม่ได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดตั้งแต่แรก หรือทำกายภาพโดยผู้ดูแล และญาติที่ไม่ได้เรียนทางด้านกายภาพบำบัดมาโดยตรง เป็นผลการทำกายภาพบำบัดไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ เสียโอกาสในการกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองควรรีบเริ่มต้นให้เร็วที่สุดหลังผ่านภาวะวิกฤต เนื่องจากระยะเวลาที่สมองและร่างกายจะฟื้นฟูได้ดี (Golden period) คือ ไม่เกิน 3 เดือน หรืออย่างมากที่สุดคือ 6 เดือนแรกหลังเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ เพราะเป็นช่วงที่สมองสามารถพัฒนาจากการฝึกได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามการฟื้นฟูหลังจาก 6 เดือนไปแล้วก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่อัตราการพัฒนาของสมองจะช้ากว่ามาก นอกจากนี้การฟื้นคืนของระบบประสาทยังต้องอาศัยการฝึกอย่างต่อเนื่อง ลักษณะและวิธีการยิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยป้องกันการเกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือภาวะแทรกซ้อน โดยเป้าหมายหลักของการฟื้นฟูคือ ให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด อย่างไรก็ตามวิธีการ ความถี่ และระยะเวลาในการรักษาฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด จะประเมินตามอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
ตัวอย่างเทคนิคการรักษาทางกายภาพบำบัด ประกอบด้วย
1. Passive exercise/ Active assisted exercise/ Active exercise
2. Balance training
3. Passive stretching
4. PNF/ PNF special technique
5. Reflex inhibiting pattern
6. Motor relearning program (MRP)
7. Frenkel exercise
8. Modalities : Electrical stimulation, Ultrasound, Hot pack
9. Ambulation training
10. Transfer
11. Hydrotherapy
ขอขอบคุณข้อมูล:yuusook.com