อาหาร กับ สุขภาพ

เคล็ดลับการรับประทานอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง: ก่อน, ระหว่าง และหลังการรักษา

Views

เคล็ดลับการรับประทานอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง: ก่อน, ระหว่าง และหลังการรักษาอาหารเป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในขั้นตอนการรักษา การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ช่วงก่อน, ระหว่าง และหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดี และแข็งแรงมากขึ้นช่วงก่อนการรักษาเมื่อโรคมะเร็งถูกวินิจฉัย การรักษาโรคอาจประกอบด้วย การผ่าตัด การฉายแสง (รังสีรักษา) เคมีบำบัด การใช้ฮอร์โมนรักษา และ Biologic immunotherapy หรือ การใช้หลายวิธีร่วมรักษาการรักษาโรคมะเร็งจะมีเป้าหมายเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามเซลล์ที่ปกติอาจถูกทำลายบางส่วนทำให้เกิดอาการ

ข้างเคียงตามมาดังต่อไปนี้

  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักเปลี่ยนแปลง (เพิ่ม หรือ ลด)
  • เจ็บปาก และคอ
  • ปากแห้ง
  • ปัญหาบริเวณฟัน และเหงือก
  • การรับรสชาด และรับกลิ่นเปลี่ยนไป
  • คลื่นไส้ และอาเจียน
  • ท้องเสีย
  • แพ้น้ำตาลแลกโตส (พบได้ในนมวัว)
  • ท้องผูก
  • อ่อนเพลีย หรือซึมเศร้า

อาการข้างเคียงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยด้วยความรุนแรงที่แตกต่างกันขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของมะเร็ง, ส่วนของร่างกายที่ถูกรักษา และปริมาณของการรักษา โดยอาการข้างเคียงส่วนมากมักหายไปหลังเสร็จสิ้นการรักษาคำแนะนำเรื่องสารอาหารในผู้ป่วยโรคมะเร็งสารอาหารที่ควรได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งจะแตกต่างจากสารอาหารที่คนปกติได้รับ โดยมักเน้นพวกอาหารที่ให้พลังงานสูง และมีโปรตีนสูง เช่น การบริโภค เนื้อ นม ไข่ เป็นต้น ในบางครั้งผู้ป่วยอาจต้องลดการบริโภคอาหารที่มีกากมากเนื่องจากทำให้เกิดท้องเสีย หรือเจ็บปากมากขึ้นเป็นต้นอาหารที่ผู้ป่วยมะเร็งได้รับแตกต่างจากคนปกติเพราะอาหารดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถต้านทานโรคมะเร็ง และอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรักษาได้ เมื่อใดที่ผู้ป่วยสุขภาพร่างกายแข็งแรงผู้ป่วยสามารถบริโภคอาหารที่ตนต้องการได้ โดยควรบริโภคให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนรับการรักษาโรคมะเร็งมองโลกในแง่ดีผู้ป่วยจำนวนมากไม่มี หรือมีอาการข้างเคียงเล็กน้อยที่มีผลต่อการบริโภคอาหาร ผู้ป่วยที่มีอาการข้างเคียงดังกล่าวเกิดขึ้นอาการอาจเกิดขึ้นไม่รุนแรง และมักหายไปเมื่อเสร็จสิ้นการรักษา อีกทั้งยาในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงช่วยผู้ป่วยลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาได้ดีคิดในแง่ดี บอกเล่าถึงความรู้สึกของตน และขอทราบรายละเอียดของโรคที่ตนเป็นอยู่ และการวางแผนการรักษาต่างๆ จะ ช่วยให้เกิดความเข้าใจ และคลายความวิตกกังวลได้ส่วนหนึ่งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย การรับประทานอาหารได้ดีจะสามารถต้านทานอาการข้างเคียงต่างๆที่เกิดจากการรักษาได้ดีกว่า และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรักษามะเร็งได้

การวางแผน

จัดเตรียมอาหารที่ผู้ป่วยคิดว่าสามารถรับประทานได้ดีแม้ช่วงเวลาที่ป่วยไว้ใกล้ตัวผู้ป่วย โดยควรเป็นอาหารที่พร้อมรับประทาน ญาติ และคนรู้จักของผู้ป่วยควรมีส่วนร่วมในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย เช่น ซื้ออาหารให้ ปรุงอาหารให้ร้อนและ สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เป็นต้น

วิธีการรับมือกับปัญหาเรื่องการรับประทานของผู้ป่วยระหว่างการรักษาโรคมะเร็งการรักษาโรคมะเร็งทุกวิธีจะมีเป้าหมายเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวและเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่เซลล์ที่ปกติที่แบ่งตัวเร็ว (เช่น เยื่อบุในช่องปาก ทางเดินอาหาร และเส้นผม) ก็อาจถูกทำลายเกิดความเสียหายได้ ซึ่งทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมา และเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย 

ตารางที่1 แสดงผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาโรคมะเร็ง

วิธีการรักษาผลกระทบต่อการรับประทานอาหาร
การผ่าตัดร่างกายต้องการสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ทำให้ย่อยอาหาร ได้ช้าลงประสิทธิภาพในการทำงานของปาก ลำคอ และกระเพาะอาหาร
ลดลง สารอาหารที่เป็นประโยชน์จะช่วยสมานแผนและทำให้แผลหายเร็วขึ้น
การฉายรังสีในขณะที่ทำลายเซลล์มะเร็ง รังสีก็ส่งผลกระทบต่อเซลล์ที่ดีด้วย ซึ่งทำให้ร่างกายอ่อนแอ
การทำเคมีบำบัดในขณะที่เซลล์มะเร็งถูกทำลาย เคมีบำบัดอาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร และลดความอยากอาหารของผู้ป่วย
Biological Therapy (Immunotherapy)มีผลต่อความอยากอาหารในผู้ป่วย
การรักษาโดยใช้ฮอร์โมน (Hormonal Therapy)บางประเภทเพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วย

ผลข้างเคียง

ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการผ่าตัด แพทย์มักสั่งให้รับประทานอาหารประเภทโปรตีนสูง และพลังงานสูง ถ้าผู้ป่วยน้ำหนักลด หรืออ่อนแอ หลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจไม่สามารถกลับมาทานอาหารตามปกติได้ทันที ดังนั้นจึงได้รับสารอาหารทางสายเลือด หรือผ่านทางจมูก หรือช่องท้อง 

การรักษาบริเวณศีรษะ คอ หน้าอก เต้านม อาจทำให้เกิด

  • ปากแห้ง
  • เจ็บปาก
  • เจ็บคอ
  • กลืนลำบาก
  • การรับรู้รสอาหารเปลี่ยนไป
  • ปัญหาฟันผุ
  • มีเสมหะ

การรักษาบริเวณกระเพาะอาหาร หรือ กระดูกเชิงกราน อาจทำให้เกิด

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ปวดท้อง
  • ไม่อยากอาหาร
  • ท้องผูก
  • เจ็บปาก เจ็บคอ
  • การรับรู้รสอาหารเปลี่ยนไป
  • น้ำหนักลดลงผิดปกติ
  • ปากแห้ง
  • ปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้

ผลข้างเคียงจากการรักษาไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย อาการต่างๆ สามารถควบคุมด้วยยาได้ค่อนข้างดีในปัจจุบัน และอาการส่วนมากมักหายไปหลังหยุดการรักษาและในบางครั้งพบว่าปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารของผู้ป่วยอาจเกิดจากสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยเอง ขณะที่อยู่ในโรงพยาบาลผู้ป่วยสามารถปรึกษา ซักถามแพทย์ หรือพยาบาล ถึงเรื่องเกี่ยวกับโรคที่ตนเป็นอยู่ได้

ข้อควรรู้:

– เมื่อผู้ป่วยรับประทานได้ ควรรับประทานอาหารที่มีพลังงาน และโปรตีนที่เพียงพอ

– ผู้ป่วยส่วนมากรับประทานอาหารได้ดีช่วงเช้า อาจให้รับประทานอาหารมื้อหลักในช่วงเวลาค่อนไปช่วงเช้า และในอาหาร

เหลวเสริมในช่วงต่อมาของวัน ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกเบื่ออาหาร

– ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย อาจให้อาหารเหลวเสริม เพื่อเพิ่มปริมาณพลังงาน และ โปรตีน

– พยายามดื่มน้ำหรือของเหลวที่มีส่วนประกอบของน้ำมากๆ โดยเฉพาะในวันที่เบื่ออาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำที่เพียงพอ 

โดยผู้ใหญ่ แนะนำ ดื่ม 6-8 แก้วต่อวัน

การปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฉายรังสี

วิธีการรับมือกับอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น

เบื่ออาหาร

– ลองรับประทานอาหารเหลว หรืออาหารผงสำเร็จรูป

– ลองรับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยๆ

– รับประทานอาหารว่างที่ชอบ

– ถ้าไม่อยากรับประทานอาหาร หรือข้าว อาจลองรับประทานอาหารเหลว เช่น ซุป น้ำผลไม้ หรือ นม เพื่อให้ร่างกาย

ได้รับสารอาหาร และพลังงานที่เพียงพอ

– อาจลองรับประทานอาหารบางวันในช่วงก่อนนอน

– ลองแปรรูปอาหารบางชนิด เช่น ผลไม้สด อาจทำเป็น น้ำผลไม้ปั่นผสมนม เป็นต้น

– ลองอาหารที่อ่อนๆ หรือ อาหารที่เย็นๆ เช่น โยเกิรต์ นมปั่น

– ถ้าเริ่มรับประทานอาหารได้ดี ควรเพิ่มปริมาณของอาหารให้แต่ละมื้อ

– ผู้ป่วยส่วนมากรู้สึกอยากรับประทานอาหารในช่วงเช้าดีกว่าช่วงอื่น

– การดื่มน้ำขณะรับประทานอาหารจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ดังนั้นอาจดื่มน้ำก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร 30-60นาที

– ในบางครั้งการดื่มไวน์ หรือ เบียร์ ปริมาณน้อยๆ ขณะรับประทานอาหาร และ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยให้อยากอาหารมากขึ้น แต่ต้องปรึกษากับแพทย์ก่อนอนุญาตหรือไม่ผลิตภัณฑ์เสริมสารอาหาร   ใช้กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารให้ได้พลังงานและโปรตีนที่เพียงพอ ผลิตภัณฑ์มีหลายรูปแบบ เช่น  อาหารชงสำเร็จรูป อาหารเหลว เป็นต้น บางผลิตภัณฑ์สามารถร่วมรับประทานกับอาหาร หรือ เครื่องดื่มได้  โดยที่อาหารเหล่านี้เสริม พลังงาน โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ โดยส่วนมากไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลแลกโตส หรือมีในปริมาณน้อยน้ำหนักลดสาเหตุเกิดจากโรคมะเร็งเอง และ เกิดจากรับประทานอาหารได้น้อย (จากผลของการรักษา และ ภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วย) ผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงาน และโปรตีนแก่ร่างกายน้ำหนักเพิ่มมักพบในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และ มะเร็งรังไข่ จากผลของยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษา หรือในผู้ป่วยที่ได้รับฮอร์โมน หรือ ยาเคมีบำบัดการที่น้ำหนักเพิ่มอาจเกิดอาการบวมจากยารักษามะเร็งบางชนิดทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของน้ำระหว่างเซลล์ในร่างกาย ซึ่งควรลดปริมาณ เกลือในอาหาร โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องลดปริมาณอาหาร บางครั้งแพทย์อาจสั่งยาขับปัสสาวะเพื่อขับน้ำส่วนเกินออกผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งเต้านม มักมีน้ำหนักขึ้นระหว่างการรักษา มากกว่าน้ำหนักลด ดังนั้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรเน้น อาหารที่มีไขมันน้อย และลดปริมาณพลังงาน (แคลอรี่) ลงข้อแนะนำในการควบคุมน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น   

– เน้นอาหารพวกผัก ผลไม้ และ อาหารธัญพืช

– รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนัง และมัน

– รับประทานผลิตภัณฑ์จากนมวัวที่ไขมันต่ำ

– เน้นอาหารต้ม นึ่ง

– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารว่างที่ให้พลังงานสูง

– ออกกำลังกาย

เจ็บในช่องปาก และลำคอ

อาการเจ็บที่ปาก เหงือก และ ในคอ มักเกิดจาก การฉายรังสี การให้เคมีบำบัด หรือ การติดเชื้อ ควรให้ทันตแพทย์ตรวจ ว่ามีโรคที่ฟันและเหงือก หรือไม่ ก่อนนึกถึงว่าอาการเจ็บเกิดจากการรักษามะเร็ง ยาบางชนิดอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้

ข้อแนะนำ  

– รับประทานอาหารที่อ่อนเคี้ยวกลืนง่าย เช่น นมปั่น กล้วย แตงโม โยเกิร์ต ผักต้มสุก มันฝรั่งบด เป็นต้น

– หลีกเลี่ยงอาหาร หรือของเหลวที่ระคายเคืองช่องปาก เช่น ส้ม มะนาว รสเผ็ดจัด เค็มจัด ผักที่ไม่ได้ทำให้สุก หรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ แอลกอลฮอล์ รวมถึงอาหารที่ร้อนจัด

– ปรุงอาหารให้สุก นิ่ม

– ดื่มน้ำ หรือของเหลว จากหลอด

– ใช้ช้อนขนาดเล็กกว่าปกติ

– ลองรับประทานอาหารที่มีความเย็น หรือ อุณหภูมิห้อง

– ลองอมน้ำแข็ง

– บ้วนปากบ่อยๆด้วยน้ำเปล่า เพื่อกำจัดเศษอาหาร

– แพทย์อาจสั่งน้ำยาบ้วนปาก หรือ ยาชาเฉพาะที่ ตามความเหมาะสมปากแห้งการให้เคมีบำบัด และ รังสีรักษา บริเวณ ศีรษะ และ คอ จะทำให้น้ำลายลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยปากแห้งได้ ช่องปากที่แห้งอาจทำให้การรับรสของผู้ป่วยเปลี่ยนไป

ข้อแนะนำ  

– จิบน้ำบ่อยๆ เพื่อให้กลืน หรือ พูดคุย ได้ง่ายขึ้น

– ลองรับประทานอาหารว่างที่มีรสหวาน หรือ รสเปรี้ยว เพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำลาย (ไม่ควรให้ในผู้ป่วยมรามีแผลบริเวณช่องปาก)

– อมลูกอมแข็งๆ หรือ เคี้ยวหมากฝรั่ง จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลาย

– รับประทานอาหารอ่อน ที่กลืนง่าย

– รับประทานอาหารพร้อมซอสต่างๆ หรือน้ำสลัด เพื่อกลืนได้ง่าย

– ทาริมฝีปากด้วยขี้ผึ้ง กรณีริมฝีปากแห้ง

– ถ้าช่องปากแห้งมาก แพทย์อาจสั่งน้ำลายเทียมให้ปัญหาที่ ฟัน และ เหงือกมะเร็ง และการรักษาโรคมะเร็ง อาจทำให้เกิดปัญหากับฟัน และเหงือกได้ เช่น การฉายรังสีรักษา บริเวณ ช่องปาก ทำให้ปริมาณน้ำลายลดลง ที่ให้มีโอกาสเกิดฟันผุได้มากขึ้น ผู้ป่วยหลังแต่ละมื้ออาหารป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

ข้อแนะนำ  

– เมื่อมีปัญหาเรื่องฟัน ควรแจ้งให้แพทย์ที่รักษาทราบ

– ควรตรวจช่องปากกับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

– ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนิ่ม ถ้ามีอาการเสียวฟันควรใช้แปรง และยาสีฟันที่เฉพาะกับอาการ

– เมื่อปวดเหงือก หรือในช่องปาก ควรบ้วนปากด้วยน้ำอุ่น การรับรส และการดมกลิ่น เปลี่ยนแปลง

– อาจเกิดจากตัวโรคเอง หรือ เกิดจากการรักษาโรคมะเร็ง เช่น เคมีบำบัด รังสีรักษา

– อาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรือโปรตีนสูง ในช่วงแรก อาจได้รส ขม หรือ รสชาติเหมือนเหล็ก ผู้ป่วยจะรับรสชาติอาหารต่างๆ ได้ลดลง

– ปัญหาที่บริเวณฟัน อาจทำให้การรับรสเปลี่ยนไปได้เช่นกัน

– ผู้ป่วยส่วนมากเมื่อเสร็จการรักษา การเปลี่ยนแปลงของการรับรส และ กลิ่นจะหายไป

ข้อแนะนำ  

– เลือกอาหารที่รูปร่าง และ กลิ่นน่ารับประทาน

– เลี่ยงเนื้อวัวที่เวลารับประทานอาจได้รสชาติแปลกไป อาจรับประทาน เนื้อไก่ ไข่ หรือ ปลา แทน

– รับประทานอาหารรสเปรี้ยว เช่น ส้ม จะได้รสชาตที่มากขึ้น

– เพิ่มแฮม เบคอน หรือ หัวหอมใหญ่ เพื่อเพิ่มรสชาต ให้กับผักต่างๆ

– พบทันตแพทย์ เพื่อตรวจว่าไม่ได้มีปัญหาเรื่องเหงือกและฟันที่ทำให้การรับรสเสียไปคลื่นไส้เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่เกิดจาก การผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา และ การรักษาโดยใช้ชีวโมเลกุล อาการคลื่นไส้อาจเกิดได้จากตัวของโรคมะเร็งเอง หรือเกิดจากผลข้างเคียงจากการรักษาหลังจากได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนทันที ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้หลังได้รับการรักษาสองถึงสามวันหรือหรืออาจไม่พบอาการคลื่นไส้เลย อาการคลื่นไส้นี้มักจะหายไปเมื่อรักษาครบทุกขั้นตอนแต่ปัจจุบันแพทย์มักสั่งยาแก้อาเจียนให้ผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มขั้นตอนการทำเคมีบำบัดเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ให้กับผู้ป่วยอาการคลื่นไส้ อาจทำให้ผู้ป่วยไม่อยากอาหารและไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ดังนั้น

– ผู้ป่วยอาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอยาแก้อาเจียน

– รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ขนมปัง โยเกิร์ต ข้าวต้ม ไก่อบ ผัก ผลไม้ น้ำสะอาด น้ำอัดลม เป็นต้น

– หลีกเลี่ยงอาหารที่มันจัด ของทอด ของหวาน เช่น ลูกอม คุกกี้ หรือ เค้ก อาหารรสจัด อาหารที่มีกลิ่นฉุน

– รับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อย และช้าๆ รับประทานก่อนที่จะหิวเพราะอาการหิวทำให้คลื่นไส้มากขึ้น

– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในที่มีคนพลุกพล่าน หรือมีกลิ่นอาหารรุนแรง

– ดื่มน้ำเล็กน้อยในขณะที่รับประทานอาหาร

– จิบน้ำอย่างช้าๆ ตลอดทั้งวัน

– รับประทานอาหารที่ไม่ร้อนจนเกินไป

– อย่าฝืนทานอาหารที่ตนเองชอบขณะมีอาการคลื่นไส้ เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้ไม่ชอบทานอาหารชนิดนี้อย่างถาวร

– นั่งพักประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากการรับประทานอาหาร

– สวมเสื้อผ้าหลวมๆ

– ถ้าพบอาการคลื่นไส้ในขณะที่ฉายรังสี หรือให้เคมีบำบัด ให้ผู้ป่วยงดอาหาร หนึ่งถึงสองชั่วโมงก่อนการรักษา

– ลองสังเกตด้วยตัวเองว่าอาการคลื่นไส้เกิดขึ้นจากสาเหตุใด (อาหาร สภาพแวดล้อม)จะได้หลีกเลี่ยงได้อย่างเหมาะสมอาเจียนอาเจียนเป็นอาการต่อเนื่องจากอาการคลื่นไส้ ซึ่งอาจเกิดจากการรักษา กลิ่นอาหาร แก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ หรือการเคลื่อนไหว อาการอาเจียนเกิดขึ้นในแต่ละบุคคลแตกต่างกันถ้าอาการอาเจียนรุนแรงหรือติดต่อกันมากกว่าหนึ่งวัน ให้พบแพทย์เพื่อสั่งยาแก้อาเจียนให้บ่อยครั้งพบว่า ถ้าป้องกันอาการคลื่นไส้ได้ ก็สามารถป้องกันการอาเจียนได้ แต่มันก็ไม่เป็นจริงเสมอไป การออกกำลังกายเบาๆ หรือ การทานยาช่วยบรรเทาอาการได้ เมื่อเกิดอาการให้หายใจเข้าออกลึกๆเมื่ออาเจียน ห้ามดื่มน้ำหรือทานอะไรจนกว่าจะหยุดอาเจียนเมื่อหยุดอาเจียน
ให้จิบของเหลวใส น้ำเปล่าหรือน้ำซุปใส

เริ่มจากปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ทุกๆ 10 นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มเป็น 1 ช้อนโต๊ะทุก 20 นาที สุดท้ายเป็น 2 ช้อนโต๊ะทุก 30 นาที เมื่อผู้ป่วยสามารถกลืนน้ำเปล่าหรือซุปใสได้ ก็ให้ลองทานอาหารเหลวข้น หรืออาหารอ่อน  เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำชา กาแฟ น้ำผึ้ง ข้าวต้ม เป็นต้น พยายามทานอาหารอ่อนๆปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้งเท่าที่จะทำได้ เมื่อเริ่มรู้สึกดีขึ้น ก็ลองทานอาหารปกติได้

อาการคลื่นไส้อาเจียนกับการรักษาโรคมะเร็ง

ท้องเสีย

ท้องเสียเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การทำเคมีบำบัด การฉายรังสีบริเวณท้อง การติดเชื้อ การตอบสนองต่ออาหารและ

ความแปรปรวนทางอารมณ์ ควรปรึกษาแพทย์ หาสาเหตุของท้องเสีย เพื่อจะได้รักษาอย่างถูกต้อง

เมื่อท้องเสีย อาหารจะถูกส่งผ่านไปยังลำไส้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่ร่างกายจะสามารถดูดซึมวิตามิน เกลือแร่และน้ำ อย่าง

เพียงพอ ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ ถ้าท้องเสียรุนแรงและนานเกินสองวันให้พบแพทย์ คำแนะนำเมื่อมีอาการท้องเสีย

– ดื่มน้ำสะอาดหรือ ของเหลวเพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป

– ทานอาหารครั้งละน้อยๆ ตลอดวัน แทนการทานปกติ 3 มื้อ

– ทานอาหารและน้ำ ที่อุดมไปด้วย ธาตุโซเดียม และโพแทสเซียม เช่น เครื่องดื่มเกลือแร่ กล้วย เป็นต้น

– อาหารที่ทานได้ ได้แก่ โยเกิร์ต ข้าว ก๋วยเตี๋ยว มันฝรั่ง ไข่ต้ม ขนมปัง ไก่อบ เป็นต้น

– อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารมัน ของทอด ผักดิบ บรอกโคลี่ ข้าวโพด ถั่ว กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา ดอกกะหล่ำอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นเกินไป  ชา กาแฟ ช็อกโกแลต

– ถ้ามีอาการท้องเสียกะทันหัน ให้ดื่มแต่เครื่องดื่มเกลือแร่และน้ำ โดยงดทานอาหาร 12 ถึง 14 ชั่วโมง เพื่อให้ลำไส้ ได้พักและชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป

– นมและผลิตภัณฑ์จากนมอาจทำให้อาการท้องเสียรุนแรงขึ้นอาหารพิเศษสำหรับการดูแลเป็นพิเศษเมื่อผู้ป่วยต้องการการดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากโรคมะเร็งหรือจากการรักษา แพทย์ หรือนักโภชนาการอาจแนะนำอาหารพิเศษให้ ตัวอย่างเช่น อาหารอ่อนๆ ที่เหมาะสมกับช่องปาก ลำคอ หลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร ถ้าพบว่าอาหารนั้นย่อยยากก็ควรรับประทานอาหารที่มีแลคโตสต่ำ หรือ อาหารพิเศษอื่นๆ เช่น อาหารเหลวใส อาหารเหลวข้น และ อาหารที่มีเส้นใยน้อยอาหารพิเศษบางประเภทมีความสมดุลและสามารถทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ในขณะที่บางประเภทสามารถรับประทานติดต่อกันได้เพียงไม่กี่วัน เพราะว่าอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่จำเป็นได้เพียงพอ ถ้าผู้ป่วยต้องการคำแนะนำและ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารพิเศษเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์และโภชนากร โดยเฉพาะเมื่อได้รับการควบคุมอาหารเนื่องจากโรคเบาหวาน โรคไต และโรคหัวใจอยู่แล้วเมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ (Lactose Intolerance)น้ำตาลแลคโตส พบได้ใน นม และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส และไอศกรีม ร่างกายผู้ป่วยอาจไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ หลังจากได้ทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะบางชนิด การฉายรังสีรักษาที่บริเวณท้อง หรือการรักษาใดๆ ที่ส่งผลถึงระบบย่อยอาหารในผู้ป่วยบางคน อาการที่บ่งบอกว่าร่างกาย ไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ ได้แก่ ลมในกระเพาะ ปวดเกร็งท้อง ท้องเสีย ซึ่งอาการ เหล่านี้จะหายไปหลังจากการรักษาสิ้นสุดลง สองถึงสามสัปดาห์ หรือเมื่อลำไส้ทำงานปกติ ในบางกรณี อาจต้องเปลี่ยนลักษณะ

การรับประทานอาหาร

แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยบริโภคอาหารที่มีแลคโตสในปริมาณน้อย นมที่มีแลคโตสต่ำสามารถหาซื้อได้ในซุปเปอร์-มาร์เกตทั่วไปท้องผูก ยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง หรือยาบางชนิด เช่น ยาระงับความเจ็บปวด ยาแก้อาเจียน อาจเป็นสาเหตุทำให้ท้องผูก


ได้ปัญหานี้อาจพบได้เมื่อบริโภคอาหารที่มีกากอาหารหรือเส้นใยไม่เพียงพอ หรือแม้แต่นอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน

– ควรดื่มน้ำปริมาณมาก อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน

– ดื่มเครื่องดื่มร้อน 1 ชั่วโมงครึ่งก่อนทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น

– ปรึกษาแพทย์ว่าในกรณีของคุณสามารถเพิ่มการทานอาหารที่มีเส้นใยมากได้หรือไม่

– ออกกำลังกายเป็นประจำ

– ถ้าปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยารักษาอาการท้องผูก หรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม

– ทานยาระบาย เช่น มะขามแขก เป็นต้น ความเหนื่อยล้า และความเศร้าใจ

การรักษาโรคมะเร็งนั้นใช้เวลาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหนื่อยล้าและหดหู่ใจ ซึ่งอาจทำให้ความเจ็บป่วยเลวร้ายลง ความเหนื่อยล้านั้นเกิดจาก การไม่กินอาหาร ไม่กระฉับกระเฉง ความเศร้าซึม พักผ่อนไม่เพียงพอหรือ

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

คำแนะนำที่ช่วยได้ :  

– ผู้ป่วยพูดคุยแบบเปิดอกกับพยาบาลหรือนักสังคมสงเคราะห์ ถึงความกังวลและความกลัวที่มีอยู่ เพื่อที่พวกเขาเหล่านั้นจะช่วยหาวิธี ที่จะบรรเทาความกังวลเหล่านั้นได้

– ทำความคุ้นเคยกับการบำบัดรักษา ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ และวิธการรับมือกับมัน หาข้อมูลเพิ่มเติมจะช่วยให้รู้สึกมั่นใจขึ้น อย่ากลัวที่จะพูดคุยกับแพทย์

– พักผ่อนให้เพียงพอ

– งีบหลับบ่อยๆ หรือนอนกลางวัน นอกเหนือจากการนอนตามปกติ

– วางแผนการทำงาน และการพักผ่อน ระหว่างวัน

– หาหนังสือโปรดมาอ่านช่วงที่เครียดจากการรักษา

– เดินระยะสั้นเพื่อออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายตามปกติ

– ศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรม  ธรรมะสำหรับผู้ป่วย

การป้องกันความเจ็บป่วยจากอาหารเป็นพิษผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาจะมีภูมิต้านทานลดลง เพราะยาต้านโรคมะเร็งส่วนใหญ่จะทำให้การสร้างเม็ดเลือดขาว ที่ทำหน้าที่ต้านเชื้อโรคลดลง นั่นเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องป้องกันการติดเชื้อ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ดิบ และไม่สะอาด

คำแนะนำมีดังต่อไปนี้ :    

– ล้างผักผลไม้สดให้สะอาด ล้างเปลือกให้สะอาดก่อนปอก

– ล้างมือ และอุปกรณ์การทำอาหารให้สะอาด ทั้งก่อนและหลังการทำอาหาร โดยเฉพาะเมื่อต้องหั่นอาหารสด

– ละลายเนื้อสัตว์แช่แข็งในตู้เย็นช่องปกติ แทนที่จะละลายที่โต๊ะ

– ปรุงอาหารประเภทเนื้อ และไข่ ให้สุกเต็มที่

– หลีกเลี่ยงการรับประทานหอย

– ดื่มน้ำผลไม้และนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์มาแล้วเท่านั้น

อาหารเสริมประเภทวิตามินและเกลือแร่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยหรือไม่ผู้ป่วยโรคมะเร็งมักมีคำถามว่าวิตามินเสริมและเกลือแร่ หรือสมุนไพรนั้นมีส่วนช่วยในการรักษาโรคมะเร็งหรือไม่ เป็นที่รู้กันว่าถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ดีในระหว่างการรักษา จะช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและอาการข้างเคียงจากการใช้ยาก็ลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการผลการวิจัยใดที่บอกว่าวิตามินเสริมหรือสมุนไพรใดสามารถรักษาโรคมะเร็งหรือยับยั้งไม่ให้โรคมะเร็งกลับมาใหม่ได้ ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยต้องการรับประทานวิตามินเสริมให้ปรึกษาแพทย์ และทำตามคำแนะนำแพทย์การบำบัดทางเลือก (การแพทย์ทางเลือก)ผู้ป่วยมักทำการบำบัดควบคู่กับการรักษา แต่การบำบัดส่วนใหญ่นั้นยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด และไม่ได้รับการยืนยันว่าปลอดภัยต่อผู้ป่วย ในขณะที่บางส่วนพบว่าไม่มีส่วนช่วยในการรักษา หรืออาจเป็นอันตรายด้วยซ้ำ ดังนั้นผู้ป่วยควรปรึกษา แพทย์ผู้ทำการรักษาเพื่อให้แน่ใจว่าการบำบัดทางเลือกนั้นจะไม่มีผลกระทบต่อการรักษาที่ดำเนินอยู่การบริโภคมังสวิรัติ ชีวจิต กินเจ ไม่ได้เป็นการป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต หรือป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังรับการรักษาควรบริโภคอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเพิ่มอาหารโปรตีน (เนื้อสัตว์ นม ไข่ขาว)เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อเซลล์มะเร็งมากขึ้น หลังการรักษาเสร็จสิ้น อาจจะทานมังสวิรัติได้แต่ต้องให้ร่างกายได้สารอาหารเต็มที่ ออกกำลังกาย ทำจิตใจให้แจ่มใส ทำบุญ ปฏิบัติธรรม ตามแต่โอกาสอำนวยข้อความพิเศษถึงผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยสามารถช่วยคนที่คุณรักให้ผ่านช่วงการรักษาโรคมะเร็งได้

ข้อควรรู้ :   

– ต่อมรับรสชาติของผู้ ป่วยอาจเปลี่ยนไป บางวันผู้ป่วยอาจไม่อยากรับประทานอาหารที่เคยชอบ ในขณะที่บางวันผู้ป่วยอาจ

รับประทาน อาหารที่เคยไม่ชอบได้

– เตรียมอาหารง่ายๆ โดยวางไว้ให้ผู้ป่วยสามารถหยิบจับได้อย่างสะดวก

– ในบางวัน ผู้ป่วยอาจรับประทานอาหารได้ปริมาณน้อย เนื่องจากการข้างเคียงจากการใช้ยา บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่ยอมรับประทานอะไรเลย ก็ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเหลว ตัวอย่างอาหารเหลวดังตารางที่ 2 และ 3พูดคุยกับผู้ป่วยถึงสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการรักษาโรคมะเร็ง

– อย่าบังคับให้ผู้ป่วยรับประทาน หรือดื่ม มากเกินไปหลังจากการรักษาสิ้นสุดลงอาการข้างเคียงที่เกิดจากการฉายรังสีจะหายไปหลังจากการรักษาสิ้นสุดลง ความอยากอาหารจะกลับมาเป็นปกติ ถ้าอาการข้างเคียงยังไม่หายไป ควรปรึกษาแพทย์ขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษาใดที่ระบุว่ามีอาหารพิเศษที่สามารถป้องกันไม่ให้โรคมะเร็งกลับมาได้อีก อย่างไรก็ตามการรับประทาน อาหารที่เป็นประโยชน์จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างเนื้อเยื่อ และช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ควรพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

ข้อแนะนำ :   

– รับประทานอาหารที่หลากหลายทุกวัน

– เน้นรับประทานผักและผลไม้

– เน้นรับประทานขนมปังและธัญพืช

– ลดอาหารประเภทไขมัน เกลือ น้ำตาล เครื่องดื่มแอกอฮอล์ อาหารรมควัน หรือหมักดอง

– ดื่มนมไขมันต่ำ และรับประทานหมู ไก่หรือเนื้อไม่ติดมันและหนัง ในปริมาณน้อย ไม่ควรเกิน 2 ขีด ต่อวันการกลับไปสู่การทานอาหารตามปกติถึงแม้ว่าการรักษาจะสิ้นสุดลง และผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นมาก แต่ ผู้ป่วยยังมีความรู้สึกไม่เคยชินกับการรับประทานอาหารตามปกติดังนั้นคำแนะนำเหล่านี้อาจช่วยได้

– ทำอาหารที่มีวิธีการทำง่ายๆ

– ทำอาหารปริมาณมากพอที่จะทานได้สองถึงสามมื้อ เก็บส่วนที่เหลือไว้ในตู้เย็น

– ทำให้อาหารมื้อนั้นเป็นมื้อพิเศา

– ชวนเพื่อหรือสมาชิกครอบครัวร่วมกันทำอาหารหรือเลือกซื้อส่วนผสม

ขอบคุณข้อมูลจาก : chulacancer

Leave a Reply