อาหาร กับ สุขภาพ

5 สัญญาณอันตราย อาการ “เม็ดเลือดแดงแตกง่าย” กับอาหารและยาต้องห้าม

Views

อาการ “เม็ดเลือดแดงแตกง่าย” หมายถึง ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายมีอาการเม็ดเลือดแดงแตกง่าย สาเหตุมาจากโครโมโซม X ที่มักพบในเพศชายมีความผิดปกติ


อันตรายของอาการเม็ดเลือดแดงแตกง่าย

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ระบุว่า อาการเม็ดเลือดแดงแตกง่าย มักพบในเพศชาย ในภาวะปกติผู้ป่วยมักไม่มีอาการ หากมีการติดเชื้อหรือได้รับยาบางชนิดจะเกิดการกระตุ้น ให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายขึ้นจนเกิดอาการ โลหิตจางรวดเร็ว ดีซ่าน และ/หรือ ปัสสาวะสีน้ำปลา

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่าในผู้ที่มีอาการเม็ดเลือดแดงแตกง่าย หรือผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ควรระมัดระวังทั้งในเรื่องของการรับประทานอาหาร การรับประทานยา อาหารเสริม หรือสมุนไพรต่างๆ ที่จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้


สัญญาณอันตราย อาการ “เม็ดเลือดแดงแตกง่าย”

  1. ตัวเหลือง
  2. เพลีย ซีด
  3. ปัสสาวะสีคล้ายโคล่า
  4. ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย
  5. หากมีอาการมากๆ อาจเสี่ยงไตวายได้


อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง หากมีอาการเม็ดเลือดแดงแตกง่าย

  • ถั่วปากอ้า 
  • ไวน์แดง 
  • พืชตระกูลถั่ว 
  • บลูเบอรี่ 
  • ถั่วเหลือง


สารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง หากมีอาการเม็ดเลือดแดงแตกง่าย

  • โทนิค (tonic) 
  • โซดาขิง 
  • การบูร


รายชื่อยาที่ห้ามใช้ หากมีอาการเม็ดเลือดแดงแตกง่าย

  • กลุ่มยาแก้ปวด ลดไข้ ได้แก่ Aspirin, Aminopyrine, Dipyrone(Metamizole), Phenacetin
  • กลุ่มยารักษาโรคมาลาเรีย ได้แก่ Chloroquine, Quinine, Primaquine, Hydroxychloroquine
  • กลุ่มยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยากลุ่ม Quinolone, Nitroturan, Chloramphenical
  • กลุ่มยาเคมีบำบัด เช่น Doxorubicin
  • ยากลุ่มซัลฟา เช่น Dapsone, Co-trimoxazole
  • ยาโรคหัวใจ และหลอดเลือด ได้แก่ Procainamide, Quinidine และDopamine
  • อื่นๆ ได้แก่ Vitamin C, Vitamin K (Menadione, Phytomenadione), Methylene blue, Toluidine blue, สารหนู และ Naphthalene


การปฏิบัติตัว หากมีอาการเม็ดเลือดแดงแตกง่าย

  1. ไม่ควรซื้อยา อาหารเสริม หรือสมุนไพรกินเอง
  2. เมื่อมีอาการซีด เหลือง หรือปัสสาวะสีเข้มขึ้น (สีน้ำโคล่า) ควรรีบไปพบแพทย์
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วปากอ้า ไวน์แดง พืชตระกูลถั่ว บลูเบอรี่ ถั่วเหลือง
  4. หลีกเลี่ยงการสูดดมลูกเหม็น การบูร
  5. แจ้งแพทย์ทุกครั้งว่ามีอาการเม็ดเลือดแดงแตกง่าย หรือมีภาวะพร่อง G6PD พร้อมกับแสดงบัตรประจำตัวที่โรงพยาบาลออกให้ ภายในบัตรจะระบุชื่อยาและสารเคมีที่ต้องหลีกเลี่ยง

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.),โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

https://www.sanook.com/health/22609/ภาพ :iStock

Leave a Reply