รู้ทัน-โรคไอ

อาการไอ…รักษาง่ายนิดเดียว

Views

ทำไมเราถึงไอ?

การที่คนเราเกิดมีอาการไอ ก็เพราะว่า……

   o มีสิ่งระคายเคือง เช่นเสมหะไอเสีย ควันไฟ ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง ไปทำความระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจซึ่งทำให้มีอาการไอแห้งๆ หรือไอมีเสมหะขาวใสเพียงเล็กน้อย พบในพวกที่สูบบุหรี่ คนที่เป็นโรคหวัดคันคอเจ็บคอวัณโรคปอดหลอดลมอักเสบในระยะเริ่มแรก หรือมะเร็งปอดในระยะเริ่มแรก

   o ร่างกายต้องการขับเสลดหนองก้อนเลือดในหลอดลมและในถุงลมออกมาเพื่อเป็นการช่วยลดอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย ซึ่งอาการไอแบบนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อคนเราอย่างมาก มักพบว่า  ไอแบบนี้จะมีลักษณะมีเสมหะหรือเสลดเหนียวข้นเป็นสีเขียวหรือสีเหลืองปนเขียว บางครั้งเป็นหนองหรือมีเลือดปนออกมา พบในคนที่เป็นโรคปอดและหลอดลมหลอดลมอักเสบเรื้อรัง        
วัณโรคปอดถุงลมโป่งพอง หลอดลมพองมะเร็งปอดระยะรุนแรง

   o ยาบางอย่าง มีผลทำให้เกิดอาการไอมากเกินกว่าปกติซึ่งอาจเพียงทำให้เกิดความรำคาญ หากกล่าวถึงยาที่ทำให้เกิดอาการไอ ยา 2 กลุ่มสำคัญที่ควรรู้จักไว้

         1.ยาลดความดันโลหิต กลุ่มเอซีอีไอ ได้แก่ ยาอีนาลาพริล (Enalapril) ซึ่งใช้เป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจวาย และใช้ป้องกันความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย ยากลุ่มนี้มักทำให้เกิดอาการไอแห้งๆ ในผู้ป่วย 20% ของผู้บริโภคยา ซึ่งโดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องดูแลรักษา หากไอไอมากจนทนไม่ได้อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยาไปใช้ยากลุ่มอื่นทดแทนผู้ป่วยที่ใช้ยาแล้วมีอาการไอไม่ควรหยุดยาเอง เพราะยามีความสำคัญต่อการควบคุมความรุนแรงของโรคที่ทำการรักษาอยู่ ควรแจ้งแพทย์เพื่อทำการปรับเปลี่ยนยาที่เหมาะสมต่อไป 

         2.ยารักษาโรคกระดูกพรุนBisphosphonates) ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว ยากลุ่มนี้ไม่ได้มีผลทำให้เกิดอาการไอถ้าใช้ยาอย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยรับประทานก่อนอาหารมื้อเช้าครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง (ขึ้นกับชนิดของตัวยา) หลังรับประทานยาห้ามเอนตัวลงนอนหรือทำกิจกรรมใดๆ  ที่อาจจะทำให้เกิดการไหลย้อนของยาเข้าสู่หลอดอาหารเนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลระคายเคืองหลอดอาหารโดยตรง หากไม่ปฏิบัติตามวิธีดังที่กล่าวมาแล้วอาจทำให้หลอดอาหารโดนทำลายเกิดอาการแสบหน้าอก ไออย่างรุนแรง และไอเป็นเลือดได้ 

การบำบัดบรรเทาอาการไอ

การบรรเทาอาการไอไม่เพียงรักษาอาการไอโดยการรับประทานยาแก้ไอเพียงอย่างเดียวแต่ต้องรักษาต้นเหตุที่ทำให้ไอด้วย จึงจะสามารถทำให้หายจากอาการไอได้ เช่น มีอาการไอเพราะเป็นโรคหวัด ต้องรักษา โรคหวัดด้วย อาการไอจึงจะหายได้ แต่ถ้ารับประทานแต่ยาแก้ไอเพียงอย่างเดียว ไม่รักษาตัว ปล่อยให้โรคหวัดลุกลามมีโรคแทรกซ้อน (เช่น ปอดอักเสบ) อาการไอก็กลับหนักขึ้นจะหายได้ก็ต่อเมื่อได้รักษาโรคแทรกให้หายแล้วเท่านั้น  

จุดประสงค์ของการใช้ยาแก้ไอ

  o ในกรณีที่ไอแบบมีเสมหะเสลดเหนียว การใช้ยาแก้ไอก็เพื่อละลายเสมหะที่ข้นเหนียวจับกันเป็นก้อนอุดขวางทางเดินหายใจให้ใสขึ้นเพื่อที่ร่างกาย

จะได้ขจัดออกได้ง่ายขึ้น ทำให้คนไข้สบายคอ    และหายใจได้สะดวกขึ้น

  o ถ้ามีอาการไอแบบแห้งๆ หรือไม่มีเสลด การใช้ยาแก้ไอก็มีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างออกไป คือต้องการให้ยาไประงับอาการไอ

นั้นเสียเพื่อที่คนไข้จะได้ไม่ต้องทรมานกับการไอ และพักผ่อนได้เต็มที่ ตลอดจนลดอาการเหนื่อยอ่อนที่เกิดจากการออกแรงในการไอมากไป

คนไข้ก็จะสามารถฟื้นไข้ได้เร็วขึ้น

  o นอกจากนี้ยาแก้ไอยังมีผลทำให้คนไข้รู้สึกชุ่มคอยาแก้ไอบางชนิดก็ช่วยลดน้ำมูกและอาการแพ้ต่างๆ ได้ด้วย เพราะผู้ผลิตมักนิยมใส่ตัวยาแก้แพ้ยาลดน้ำมูก

  o ยาแก้ไอที่เราพบได้ในท้องตลาดจะมีทั้งชนิดน้ำเม็ดยาแผนปัจจุบันยาแผนโบราณยาสามัญประจำบ้าน

ยาอันตรายยาลูกอมไอ 

 หลักการใช้ยาแก้ไอ

ต้องใช้ยาแก้ไอให้ถูกกับลักษณะการไอ เช่น ไอมีเสมหะเหนียวข้นก็ควรใช้ยาละลายเสมหะ                   
ยาขับเสมหะ ยาแก้ไอชวนป๋วยปี่แป่โหล่ว ไม่ใช่ใช้ยาระงับการไอ หรือยาแก้ไอที่เข้าข่ายยาแก้แพ้ซึ่งจะทำให้เสมหะเหนียวยิ่งขึ้นติดพันอยู่ในลำคอ ขากออกยาก อาการไอก็จะยิ่งกำเริบหนักขึ้น

การใช้ยาชนิดน้ำ ต้องใช้ช้อนตวง ห้ามกรอกใส่ปากโดยกะปริมาณเอาเองเด็ดขาดเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายจากการกินยาเกินขนาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นยาแก้ไอที่มีตัวยาอื่นๆ ผสมอยู่หลายตัว ช้อนตวงในที่นี้ควรใช้ช้อนที่ติดมากับขวดยาจะได้ขนาดที่แน่นอนกว่าช้อนชาหรือช้อนโต๊ะที่ใช้ตามบ้าน

ศัพท์อีกคำหนึ่งที่เรามักจะพบสำหรับการรับประทานยาแก้ไอ คือ คำว่าใช้ “จิบ” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง ดื่มทีละนิด) เมื่อมีอาการไอ ควรใช้ยาแก้ไอที่ไม่เข้าข่ายยาอันตราย เช่น                  ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ใช้จิบรับประทานได้เมื่อรู้สึกคันคออยากไอ และควรใช้กับผู้ใหญ่เท่านั้น ไม่ควรใช้กับเด็กเล็ก

ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยถ้าพบว่ามีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้  

         o มีอาการไอเรื้อรังนานกว่า 1-2 สัปดาห์ และลองกินยาแก้ไอแล้วแต่ไม่ได้ผลหรือกลับรุนแรงยิ่งขึ้น ยกเว้นในรายที่ไอหลังจากเป็นโรคหวัดไอแห้งๆ หรือมีเสมหะขาวๆ เล็กน้อย และอาการทั่วไปเป็นปกติดี คือรับประทานข้าวได้  ทำงานได้ ไม่ผอมลงเหนื่อยอ่อนยาแก้ไอทุกชนิด ให้ดื่มน้ำอุ่นๆ มากๆ แทน ห้ามรับประทานน้ำแข็ง                       หรือน้ำเย็นอาการไอจะค่อยๆ หายไปเองในที่สุด

          o มีอาการไอร่วมกับเป็นไข้ / ตัวร้อนนานกว่า 1 สัปดาห์

          o มีอาการหอบเหนื่อยเจ็บหน้าอกรุนแรงอ่อนเพลียเบื่ออาหารน้ำหนักลด

          o ไอมีเสมหะข้นเหนียวเป็นสีเขียว หรือเหลืองปนเขียว หรือมีเลือดปน 

วิธีการรักษาอาการไอที่ดีที่สุดคือการกำจัดที่สาเหตุของอาการไอ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ หรือยาที่ทำให้ไอ

ในการใช้ยาบรรเทาอาการไอนั้นบางครั้งอาจได้รับยาสูตรที่มีตัวยาแก้ไอหลายชนิดผสมกัน หรือบางครั้งอาจได้รับยาแก้ไอเดี่ยวๆ มากกว่าหนึ่งชนิดพร้อมกัน หากเป็นไปได้ควรเลือกชนิดของยาที่สอดคล้องกับลักษณะของอาการไอให้มากที่สุดเพื่อช่วยให้ใช้ยาได้ผลตรงตามประสิทธิภาพ หากจะใช้ยามากกว่าหนึ่งกลุ่มร่วมกัน                             ควรเลือกยาที่ออกฤทธิ์คนละกลไกกัน เช่น ใช้ยาขับเสมหะร่วมกับยาละลายเสมหะ หรือใช้ยากดอาการไอร่วมกับยาละลายเสมหะ ทั้งนี้ไม่ควรใช้ยากลุ่มเดียวกันซ้ำซ้อนกันเพราะไม่ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น    แต่อาจจะเกิดผลข้างเคียงจากยามากขึ้น

ยาแก้ไอที่นับว่าวิเศษมากอีกตัวหนึ่งเป็นยาแก้ไอที่ราคาถูกที่สุดในโลก และหาได้ง่ายในที่ทุกแห่ง ซึ่งพวกเราหลายคนอาจนึกไม่ถึง นั่นก็คือน้ำสะอาด ที่เราใช้ดื่มกันทุกวันนี่เอง น้ำอุ่นๆ นี่แหละจะช่วยระงับการไอ และช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียวให้ใสขึ้น และถูกขับออกได้ง่าย การดื่มน้ำอุ่นมากๆ บ่อยๆ เวลามีอาการไอจะช่วยรักษาอาการไอได้มาก นอกจากการดื่มน้ำอุ่นแล้วเวลาไอควรงดอาหารรสเผ็ดจัด น้ำแข็ง น้ำเย็นจัด ของทอด เหล้า    และบุหรี่ เพราะจะทำให้ระคายคอแล้วอาจจะยิ่งทำให้ไอมากกว่าเดิมได้ด้วยนะคะ

ขอขอบคุณhttp://www.somdej.or.th/index.php/2016-05-17-08-55-32

Leave a Reply