โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร เป็นได้ง่ายกว่าที่ใครหลายคนคิด

32815439 - menstruation pain or stomach ache, hand holding belly closeup
Views

เมื่อสองสามวันที่ผ่านมาจากกรณีที่ดาราวสาว “เบลล่า ราณี” ถูกหามตัวส่งโรงพยาบาลกระทันหันจากอาการปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง หวิดหมดสติกลางกองถ่าย หลังจากส่งตัวถึงมือแพทย์ก็ได้รับการวินิจฉัยว่าดาราสาวเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน วันนี้ทางเราจึงถือโอกาสนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารมานำเสนอ เพื่อให้ใครหลายคนรู้จักวิธีการป้องกันที่เหมาะสม

ปัจจุบันเรามักจะพบว่าพฤติกรรมของคนในยุคนี้มีความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มากมาย รวมถึงโรคกระเพาะอาหารก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนเป็นโดยเฉพาะคนเมืองที่มีแต่ความเร่งรีบ อย่างเช่นดาราสาวที่เพิ่งประสบกับโรคดังกล่าวมาหมาดๆ และรุนแรงถึงขั้นต้องหามส่งโรงพยาบาล โดยโรคดังกล่าวนี้ก็มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างด้วยกัน แต่หลักๆ เลยก็คือพฤติกรรมการทานอาหารที่ส่งผลต่อการเกิดโรคได้มากที่สุด

พฤติกรรมการทานอาหารที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอย่างแรกเลยคือการทานยา อาหารเสริมหรือเสริมอาหารที่ไม่มีความจำเป็นกับร่างกาย ข้อนี้ถือเป็นลำดับต้นๆ ของการเกิดโรค สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการซื้อยาหรืออาหารเสริมรวมถึงเสริมอาหารต่างๆ ที่ไม่มีข้อบ่งชี้ชัดเจน

พฤติกรรมการทานอาหารต่อมาที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารก็คือการทานอาหารที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะคนในปัจจุบันที่ไม่มีเวลาในการปรุงอาหารด้วยตนเอง อาศัยซื้อทานมากกว่าเพราะสะดวกและตอบโจทย์ชีวิตประจำวันมากกว่า แต่การซื้อทานก็มีความเสี่ยงอยู่มากเช่นกัน เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าพ่อค้าแม่ค้าจะปรุงอาหารได้สะอาดมากน้อยแค่ไหน ข้อนี้สามารถป้องกันได้โดยการเลือกทานอาหารที่ปรุงสุกเสมอ และอาจต้องใช้ทักษะส่วนตัวในการพิจารณาเลือกร้านอาหารที่สะอาด มีมาตรฐานการปรุงและการสวมใส่เครื่องแต่งกายของผู้ปรุงอาหารที่รัดกุมป้องกันเชื้อโรคได้อย่างมิดชิด

พฤติกรรมอีกหนึ่งประการที่สำคัญและทำให้เกิดโรคกระเพาะก็คือการทานอาหารไม่ตรงเวลา พฤติกรรมนี้พบมากในคนยุคนี้ ด้วยเวลาที่เร่งรีบทำให้ละเลยการทานอาหารที่ตรงเวลาหรือทานไม่ครบมื้อ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคในที่สุด สามารถป้องกันได้โดยปรับพฤติกรรมใหม่และพยายามจัดสรรเวลาชีวิตอย่างมีแบบแผน

ที่มา : จากรายการเกร็ดความรู้ ชุดภัยคนเมือง ตอนโรคกระเพาะ อ.พญ.ศุภมาส เชิญอักษร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอขอบคุณ http://www.smhos.com

Leave a Reply