เบาหวาน

สัญญาณเตือนโรคเบาหวาน และวิธีการป้องกัน

View

เบาหวาน หนึ่งในโรคน่ากลัวและรักษาไม่หายขาด โดยผู้ป่วยมักจะพบโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย  สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานนั้นได้แก่กรรมพันธุ์  ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่น ชอบกินของหวาน  ของมัน ไม่ออกกำลังกาย  รวมถึงปัจจัยด้านอายุ เพราะยิ่งอายุมากขึ้นก็มีโอกาสเป็นเบาหวาน โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 65-74 ปี มีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าผู้ที่มีอายุ 25-44 ปี  2-3 เท่า ดังนั้นเราควรหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการตามลิสต์ด้านล่างหรือไม่ และศึกษาวิธีป้องกันให้ห่างไกลจากโรคเบาหวาน ดังนี้

​อินซูลินฮอร์โมนสำคัญในร่างกาย

ในแต่ละมื้อที่เรารับประทานอาหารเข้าไป จะถูกย่อยสลายให้เป็นน้ำตาลกลูโคส และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ฮอร์โมนอินซูลินซึ่งถูกสร้างจากเซลล์ของตับอ่อน  จะช่วยให้น้ำตาลในกระแสเลือดที่เพิ่มขึ้นดูดซึมเก็บไว้ที่ตับอ่อนและเซลล์อื่นๆ เพื่อให้เซลล์เหล่านั้นใช้เป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ต่อจากนั้นน้ำตาลจะลดลงสู่ระดับปกติ

​อินซูลินกับโรคเบาหวาน

​โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เกิดจากการความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน(Insulin hormone) หรืออินซูลินทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงไม่สามารถน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้  ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งโรคเบาหวานแบ่งออกเป็นหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยคือ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM) เป็นเบาหวานชนิดที่พบในเด็กและวัยรุ่น ส่วนใหญ่พบในคน อายุน้อยกว่า 30 ปีและรูปร่างไม่อ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T2DM) เป็นโรคเบาหวานที่พบมากที่สุด ประมาณร้อยละ 95 พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุเกิน 30 ปีขึ้น และเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก  รวมถึงผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2  มีความเสี่ยงจะเป็นโรคนี้เช่นกัน

ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมากหากคุณมีอาการเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน นี่คือสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน เพราะร่างกายต้องขับปริมาณน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ ไตจึงกรองออกมาผ่านทางปัสสาวะ  ทำให้ปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก 

กระหายน้ำเมื่อปัสสาวะบ่อยครั้ง ทำให้สูญเสียน้ำ ร่างกายจึงต้องชดเชยน้ำที่เสียไป ทำให้มีอาการกระหายน้ำ อยากดื่มน้ำมากกว่าปกติ

อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเนื่องจากโรคเบาหวานเกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือมีความผิดปกติของการออกฤทธิ์ ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้พลังได้ จึงทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง

​หิวบ่อย เมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้เซลล์ไม่ได้รับพลังงาน ร่างกายจึงพยายามหาแหล่งอาหารมากขึ้น  ทำให้มีอาการหิวอยู่บ่อยครั้ง

น้ำหนักลดถึงแม้จะกินอาหารปริมาณมาก แต่เนื่องจากร่างกาย­­ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้  ร่างกายจึงดึงไขมันและโปรตีนจาก กล้­­­­ามเนื้อ มาใช้เป็นพลังงานแทน  ซึ่งการที่น้ำหนักตัวลงลดมากกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวที่เคยหนักตามปกติภายในระยะเวลา 6 เดือน ถือเป็นสัญญาณเตือนอีกอย่างหนึ่งว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน  

ตาพร่ามัวอาจมีอาการตามัวในขณะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากเลนส์ตาเกิดการบวมน้ำ เวลามองไม่สามารถปรับโฟกัสภาพให้ชัดได้

การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังหากพบความผิดปกติของผิวหนังคือมีลักษณะปื้นดำเหมือนขี้ไคล อยู่รอบลำคอและบริเวณรอยพับในร่างกาย (Acanthosis Nigricans) ซึ่งเกิดการที่เซลล์แบ่งตัวผิดปกติ บ่งบอกว่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงและมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน

เป็นแผลแล้วหายช้าเนื่องจากดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินกว่าปกติของผู้ป่วยเบาหวานจะ­­­­ไปขัดขวางการทำงานของหลอดเลือด  ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณที่เกิดบาดแผลได้น้อย เมื่อเป็นแผลจึงหายช้ากว่าปกติ หรือกลายเป็นแผลเรื้อรังเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

​การป้องกันโรคเบาหวานสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ หมั่นสังเกตอาการและสัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก กระหายน้ำ ตามัว และอาการอื่นๆ ดังที่กล่าวข้างต้น  

ถึงแม้ผู้สูงอายุจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามหากรู้จักป้องกันตัวเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น เลือกรับประทานที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอล ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนได้

#อาวุโสโซไซตี้ #คนสูงอายุ #สูงวัย #อาวุโส

Follow Line@: @happyseniorclub หรือ 
Follow Facebook: 
WebSite: 

แหล่งข้อมูล:

ศูนย์เบาหวาน โรงพยาบาลศิริราช

http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/

สมาคมโรงเบาหวานแห่งประเทศไทย

http://www.dmthai.org/

ขอบคุณข้อมูล:awusosociety.com

Leave a Reply