เบาหวาน

ภาวะคิโตซิส (Diabetic Ketoacidosis)

Closeup of young man using checking level of sugar in blood
Views

“ภาวะคิโตซิส Diabetic Ketoacidosis (DKA)” หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะอาจทำให้หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ อาจดูร้ายแรง แต่เป็นภาวะที่สามารถป้องกันได้

ในบทความนี้ จะอธิบายเกี่ยวกับภาวะคีโตซิส ความหมาย อาการ วิธีการรักษาและป้องกัน

ภาวะคิโตซิส (DKA) คืออะไร

ภาวะคิโตซิส หรือภาวะเลือดเป็นกรด โดยมีระดับน้ำตาลและคีโตนในเลือดสูงจากเบาหวาน (DKA) เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานได้ จึงย่อยสลายไขมัน เพื่อนำมาเป็นแหล่งพลังงานทดแทน แต่ได้สารคีโตนซึ่งเป็นกรดออกมาร่วมด้วย

ภาวะคิโตซิส เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อินซูลิน (Insulin) ต่ำ และมีคีโตน (Ketones) อยู่ในกระแสเลือดตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงมาก จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลทันที เพราะอาจทำให้หมดสติหรือเสียชีวิตได้

ถึงแม้ว่าภาวะคิโตซิสจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ก็สามารถเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนจึงควรเข้าใจเกี่ยวกับการติดตามระดับคีโตน

อาการของภาวะคิโตซิส (DKA)

เมื่อผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดอาการเหล่านี้ อาจหมายถึง ร่างกายกำลังอยู่ในภาวะคิโตซิส (DKA) ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที ได้แก่

คีโตน (Ketones) คืออะไร

คีโตน (Ketones) สารที่เป็นกรดตัวหนึ่งที่ได้จากกระบวนการเผาผลาญไขมัน การพบคีโตนปริมาณน้อยๆ ในกระแสเลือดถือเป็นเรื่องปกติ และอาจพบคีโตนในปัสสาวะได้ เมื่ออดอาหารประมาณ 12-16 ชั่วโมง เพราะเมื่อมีระดับคีโตนในเลือดสูง ร่างกายจะขับออกมาในปัสสาวะเช่นเดียวกับน้ำตาลกลูโคส

ระดับคีโตนในเลือดที่สูงขึ้นเรียกว่า Ketosis ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำมักชอบพูดว่าต้องการให้ร่างกายอยู่ในภาวะ Ketosis เพราะหมายถึงร่างกายกำลังสลายไขมันแทนการสลายคาร์โบไฮเดรต

อย่างไรก็ตาม ระดับ Ketosis ที่เกิดจากการรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำไม่รุนแรง และมีปริมาณน้อยกว่าระดับที่พบในภาวะคิโตซิส (DKA) มาก

ควรเริ่มติดตามระดับคีโตนเมื่อไหร่

การตรวจติดตามระดับคีโตนมักทำในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่าชนิดที่ 2 เนื่องจากผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ยังสามารถสร้างอินซูลินได้ ทำให้เกิดภาวะนี้ได้น้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม มีการแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เข้ารับการตรวจคีโตนระหว่างที่มีอาการเจ็บป่วย หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากเมื่อร่างกายเจ็บป่วยหรือติดเชื้อ จะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมา ซึ่งส่งผลตรงกันข้ามกับฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลของอินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นนั่นเอง

ในบางครั้ง การรับประทานยาเบาหวานตามปกติ อาจไม่เพียงพอต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ และหากลืมกินยา หรือคิดว่า ไม่ต้องรับประทานยา เนื่องจากกินข้าวได้น้อย ก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเข้าสู่ระดับอันตรายได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคน โดยเฉพาะคนที่ใช้อินซูลินควรสอบถามเรื่องการติดตามระดับคีโตนกับแพทย์

สามารถตรวจติดตามระดับคีโตนได้อย่างไร

ปกติแล้ว สามารถตรวจระดับคีโตนด้วยการใช้แผ่นกระดาษทดสอบกับปัสสาวะ แผ่นพลาสติกเหล่านี้ มีส่วนที่สามารถดูดซึมและเปลี่ยนสีได้เมื่อมีคีโตน โดยสามารถตรวจระหว่างปัสสาวะ หรืออาจเก็บปัสสาวะมาก่อนแล้วค่อยจุ่มแผ่นตรวจก็ได้

หลังจากนั้น นำสีที่ได้จากแผ่นทดสอบมาเปรียบเทียบกับตารางสีบนกล่อง เพื่อประเมินระดับคีโตน  นอกจากนั้น ยังมีเครื่องวัดระดับน้ำตาลบางชิ้นที่สามารถวัดระดับคีโตนได้โดยใช้แผ่นวัดคีโตน ซึ่งระดับคีโตนที่ตรวจพบจะแสดงออกมาบนหน้าจอแพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

เมื่อไหร่ที่ต้องขอความช่วยเหลือ

หากคุณมีคีโตนในระดับปานกลางหรือสูงมากในเลือด ปัสสาวะ หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่สูงปานกลางก็ควรเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ทันที

การรักษาภาวะคิโตซิส (DKA)

แพทย์จะรักษาด้วยการให้สารน้ำร่วมกับอินซูลิน เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ขาดน้ำ ระหว่างที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด และแก้ไขความเป็นกรดในเลือด

โดยจะค่อยๆ ลดระดับน้ำตาลลง เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และโพแทสเซียม (Potassium) ต่ำ ตลอดการรักษาจะต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และอาจต้องปรับสารน้ำหากจำเป็น เพื่อให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดและเกลือแร่ที่เหมาะสม

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะคิโตซิส (DKA)

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงแต่พบได้น้อย คือ การเกิดสมองบวม โดยสามารถเกิดได้มากในเด็ก และพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่า ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดภาวะนี้ แต่อาการมักเกิดขึ้นระหว่างการรักษาภาวะคิโตซิส

การให้ความรู้โรคเบาหวาน

ผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่าทุกรายที่มีอาการ DKA ควรจะไดัรับความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวานใหม่ให้ถูกต้อง เพื่อการดูแลตนเองต่อไป ในหัวข้อต่อไปนี้

  • โรคเบาหวาน
  • อินซูลิน และวิธีการฉีดอินซูลิน
  • อาหารและการออกกำลังกาย
  • การประเมินผลน้ำตาลด้วยตนเองโดยการตรวจปัสสาวะและเลือด
  • การดูแลตนเองและแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia)
  • ภาวะแทรกซ้อน

วิธีการรักษาที่ดีที่สุดกำลังอยู่ในระหว่างการวิจัย การตรวจติดตามระดับคีโตนเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะคิโตซิส (DKA) 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.honestdocs.co/

Leave a Reply