SLEภูมิคุ้มกัน

โรคลูปัส (SLE) สาเหตุจากระบบภูมิคุ้มกันเสีย

Views

โรคเอส แอล อี หรือเรียกสั้นๆว่า โรคลูปัส (Systemic lipus erythematosus) เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนต่างๆ สาเหตุของโรคพบว่าเกิดจากการผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันตนเอง แทนที่ระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ต้านสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกร่างกาย แต่กลับต้านสิ่งที่อยู่ในตัวผู้ป่วยเอง ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นตามเนื้อเยื้อ อวัยวะต่างๆ โรคลูปัสนี้บางทีเราเรียกว่าโรคพุ่มพวง

อาการโรคลูปัสเมื่อเกิดขึ้นกับส่วนต่างๆในร่างกาย จะแสดงอาการดังนี้

1. ระบบผิวหนังและเยื่อเมือก 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมักพบว่าเกิดกับระบบนี้ ความปกติที่พบได้แก่ ผมร่วง ผื่นแดง บริเวณแก้มทั้งสองข้างทอดผ่านดั้งจมูก หรือที่เรียกว่าผื่นผีเสื้อนั้นเอง และอาจเกิดขึ้นบริเวณอื่นได้ เช่นบริเวณลำตัว แขน ขา และผื่นดีสคอยด์ มักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า หู ลำตัว แขนขา ทำให้เกิดแผลเป็นได้ ส่วนความผิดปกติของเยื่อเมือก มักพบว่าดเเป็นแผลที่เพดานปาก มีลักษณะเฉพาะไม่เจ็บ และพบการอักเสบของหลอดเลือดบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า และผิวหนัง

2. ระบบข้อและกล้ามเนื้อ มีเกิดอาการปวดข้อและการอักเสบกับข้อเล็กๆ อย่าง นิ้วมือ นิ้วเท้า การปวดกล้ามเนื้อทั่วไป บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยกแขน ขาลำบากหรือยกไม่ได้เลย ร่วมถึงการกลืนลำบาก และสำลักอาหารร่วมด้วยได้

3. ระบบเลือด มีอาการซีด เนื่องการอักเสบเรื้อรังหรือเม็ดเลือดแดงถูกภูมิคุ้มกันทำลาย เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ (หากเกล็ดเลือดต่ำมากอาจทำให้เกิดเลือดออกได้ง่ายกว่าปกติ เช่น มีเลือดออกตามไรฟัน จุดเลือดออกตามผิวหนังหรือเป็นจ้ำเลือดตามผิวหนังเวลาถูกกระแทกที่ไม่รุนแรงก็ตาม การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

4. ระบบหัวใจและหลอดเลือด พบไม่บ่อยสำหรับผู้ป่วยโรคลูปัส อาจเกิดการอักเสบที่เยื่อหุ้มหัวใจและปอด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ ในรายที่มีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรงอาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว เหนื่อยง่าย และบวม ผู้ป่วยโรคลูปัสที่เกิดกับระบบหัวใจและหลอดเลือดมักมาพบแพทย์เนื่องจากมีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ หรือ เหนื่อยง่าย นั้นเอง

5. ระบบไต หากตรวจปัสสาวะจะพบปริมาณโปรตีนในปัสสาวะมากกว่าปกติ มีอาการตัวบวม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะเป็นฟอง ปัสสาวะมีเลือดปน หรือปัสสาวะออกน้อยลง ซึ่งแสดงถึงอาการไตอักเสบอย่างรุนแรง และทำให้ไตวายได้อย่างรวดเร็ว

6. ระบบประสาท มีอาการปวดศีรษะ ชัก ซึม สับสน สูญเสียความทรงจำ ชาตามแขนขา และเป็นอัมพาต บางรายอาจมีอาการทางจิตอย่างรุนแรง บ้างก็ซึมเศร้า เครียด อารมณ์แปรปวน บางครั้งอาการเหล่านี้เกิดจากความเครียดของตัวผู้ป่วยเองกับโรคที่เป็น ซึ่งทำให้การประเมินอาการทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคลูปัสจริงๆนั้นลำบากขึ้น

7. ระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง บางรายอาจเกิดอาการเฉียบพลันและรุนแรง อันเป็นผลมาจากตับอ่อนอักเสบหรือลำไส้ขาดเลือดจากหลอดเลือดแดงที่มาเลื้ยงอุดตัน คลื่นไส้ อาเจียน เยื่อบุช่องท้องอักเสบ

เรามาลองดูหลักเกณฑ์สำหรับผู้ป่วยที่เข้าข่ายเป็นโรคลูปัสกันคะ เกณฑ์การวินิจฉัยนี้มาจากวิทยาลัยโรคข้อและรูมาติสซั่มของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 4 ใน 11 ข้อดังต่อไปนี้คะ

1. มีผื่นบริเวณใบหน้า และแพร่กระจายเป็นรูปผีเสื้อ
2. มีผื่นผิวหนังชนิดผื่นดีสคอยด์
3. มีอาการแพ้แสงแดด จะมีผื่นผิวหนังแดงอย่างรุนแรงเมื่อโดนแสงแดด
4. พบแผลที่ปาก
5. มีข้ออักเสบอย่างน้อย 2 ข้อ
6. ไตอักเสบ โดยพบปริมาณโปรตีน/ไข่ขาวในปัสสาวะมากกกว่าปกติ
7. มีอาการชักหรืออาการของโรคจิต
8. เยื่อหุ้มปอดหรือหุ้มหัวใจอักเสบ
9. อาการซีด เม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดต่ำ
10. พบแอนตินิวเคลียส์แอนติบอดี( Antinuclear Antibody)ในเลือด
11. ตรวจพบแอนติบอดีต่อดีเอ็นเอ หรือพบแอนติฟอสโฟไลปิดแอนติบอดี หรือการตรวจเลือดพบผลบวกปลอมต่อกาตรวจซิฟิลิส

ลองหันมาสังเกตตัวเองกันบ้างนะคะ ว่ามีอาการตามที่ได้กล่าวมาบ้างหรือไม่ หากส่งสัยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ หรือรักษาโรค สมัยก่อนผู้ป่วยโรคลูปัสมักเสียชีวิตเนื่องจากการวินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคลูปัสนั้นช้าเกินไป การรักษาไม่ตรงกับโรคที่เป็นและการรักษาที่ล่าช้านี่เองที่ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากต้องเสียชีวิตลง แต่ปัจจุบันแพพทย์สามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น ทำให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูล:votejoel.com

Leave a Reply