หืดหอบอาหาร กับ สุขภาพ

อาหารที่ผู้ป่วย “หอบหืด” ควรหลีกเลี่ยง

Views

อาการ หอบหืด กำเริบ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคืออาหารที่คุณรับประทาน จริงหรือที่อาหารเป็นสามารถกระตุ้นการเกิดหอบหืดได้ โชคไม่ดีที่นี่เป็นความจริง ฉะนั้นแล้วอาหารประเภทใดล่ะที่ควรหลีกเลี่ยง ลองอ่านบทความนี้และสอบถามคุณหมอของคุณดู

อาหารที่มีสารกันบูดหรือซัลไฟต์เป็นส่วนประกอบ สารในกลุ่มซัลไฟต์ (Sulfites) เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้สีของผลไม้อบแห้งเปลี่ยนสี ลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และทำให้ผลไม้สุก บางคนอาจได้รับผลข้างเคียงจากสารนี้เพียงเล็กน้อย เช่น เกิดลมพิษ สำหรับบางคนอาจเกิดอาการที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นหายใจติดขัด อาการช็อค ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้องหรือท้องร่วง ในกรณีของผู้ป่วยหอบหืดนั้น ปฎิกิริยาที่รุนแรงหลังจากทานผลไม้อบแห้งที่มีส่วนผสมของสารซัลไฟต์นั้น มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นสูง สารซัลไฟต์สามารถพบได้ในผลไม้อบแห้ง (แครนเบอร์รี่ ลูกเกด สับปะรด) มันฝรั่งสำเร็จรูป ไวน์ เบียร์ ชา น้ำผลไม้ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ แยม ซุปกึ่งสำเร็จรูป และกุ้งแห้ง ควรครวจสอบฉลากบนผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอาหารและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมซัลไฟต์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียมไบซัลไฟต์ โพแทสเซียม ไบซัลไฟต์ โซเดียม เมตาไบซัลไฟต์ และโพแทสเซียม เมตาไบซัลไฟต์

ผลิตภัณฑ์จากนม

ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม ชีส และโยเกิร์ต นับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถกระตุ้นอาการหอบหืดได้ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกนี้ ส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร และเพิ่มปริมาณของเยื่อมูก ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณของไขมันสูง เช่น นมแบบไขมัน 100% ส่งผลให้เกิดการอักเสบระคายเคือง อย่างไรก็ตาม นมและผลิตภัณฑ์จากนมนั้นยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ปรึกษาแพทย์ดูว่าผลิตภัณฑ์จากนม ไม่ว่าจะเป็นโยเกิร์ต ซุปข้น หรือไอศกรีมนั้น เหมาะกับคุณหรือเปล่า

เนื้อสัตว์แปรรูป

งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม และเบคอน สามารทำให้อาการหอบหืดแย่ลงได้ งานวิจัยเหล่านี้ชี้ว่าสารกันบูด ที่เรียกว่าไนไตรท์ ซึ่งพบในอาหารแปรรูปนั้น สามารถทำร้ายระบบทางเดินหายใจได้ อาหารประเภทนี้ยังมีไขมันอิ่มตัวและโซเดียมเป็นส่วนประกอบซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการหอบหืดได้ ดังนั้น คุณควรเลือกรับประทานปลาหรือสัตว์ปีกที่ไม่มีหนัง ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่มีประโยชน์ แทนการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป และเนื้อสัตว์ที่ไขมันสูง

อาหารที่มีเกลือสูง

เกลือหรือโซเดียมถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหาร และการถนอมอาหารให้อยู่ได้นาน อย่างไรก็ตาม การบริโภคเกลือในปริมาณที่มากเกินไปสามารถทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้ ปริมาณเกลือที่ควรบริโภคต่อวันคือ 2,300 มิลลิกรัม หรือน้อยกว่า คุณควรเลือกอาหารที่ระบุว่า “ไม่มีโซเดียม” หรือ “โซเดียมต่ำ” ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เพรสเซล ชีส อาหารกระป๋อง มันฝรั่งกรอบ แครกเกอร์ ควรคุมปริมาณการบริโภคโซเดียมให้น้อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคกระดูก โรคไต และปัญหาสุขภาพอื่นๆ อาหารหลายประเภทสามารถกระตุ้นอาการหอบหืดให้กำเริบได้ แต่ไม่ต้องกังวล เพราะคุณสามารถควบคุมมันได้ เพียงปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับปัจจัยที่สามารถกระตุ้นอาการของโรค และจดบันทึกอาหารที่คุณบริโภค เช่น หากคุณบริโภคอาหารบางประเภทแล้วเกิดอาการขึ้น จดบันทึกชนิดของอาหารนั้นและอาการที่เกิดขึ้นเอาไว้

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :Ritthisak Wongvutthipong

ภาพ :iStock

ขอขอบคุณข้อมูล:sanook.com

Leave a Reply