สุขภาพคุณแม่และหญิงตั้งครรภ์เบาหวาน

คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ก่อนสาย กับความเสี่ยงโรคเบาหวานในคนท้อง

Views

หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยสำหรับคนท้องที่มีความเสี่ยงอันตราย คงไม่ใช่อาการแพ้ท้องทั่วๆ ไป แต่มันคืออีกภัยคุกคามที่พร้อมทำร้ายทั้งคุณแม่และลูกน้อยที่กำลังเจริญเติบโต เป็นโรคที่กำลังพบได้บ่อย เหมือนจะเป็นอาการที่พบได้จนเหมือนเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นสำหรับคนทั่วไป แต่หากโรคนี้เกิดขึ้นกับคนที่กำลังตั้งครรภ์แล้วล่ะก็ มันย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากมายตามมา และโรคที่เรากำลังจะกล่าวถึงมันนั่นก็คือ “โรคเบาหวาน” หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อเด็กจนเกิดอันตรายรุนแรงกับทั้งสองฝ่ายตามมาได้กันเลยทีเดียวค่ะ

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

สาเหตุมักพบได้จากการที่คุณแม่ไม่ค่อยดูแลตัวเองในช่วงตั้งครรภ์ มองข้ามการตรวจคัดกรองมาก่อนว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานหรือไม่ เมื่อเข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์ กลับไปตรวจพบโรคเบาหวานขณะที่คุณแม่กำลังเข้ามาฝากครรภ์ ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น กลายเป็นอันตรายที่จะส่งผลให้ลูกน้อยเจริญเติบโตแบบผิดปกติ โดยเฉพาะในด้านพัฒนาการ มันจึงเป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ที่คุณแม่ยังไม่ได้ตั้งท้อง ไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปีมาก่อน ทำให้ไม่ทราบว่าเจ้าโรคร้ายกำลังเข้าคุกคาม สิ่งที่ตามมาคือการเกิดภาวะพร่องอินซูลิน (insulin)

การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคเบาหวาน

โดยทั่วไปจะเริ่มตรวจภายหลังการตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์ หรือในบางรายเมื่อเริ่มเข้ามาฝากครรภ์ครั้งแรก การตรวจเช็คความเสี่ยง โดยแพทย์จะให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ดื่มน้ำตาลกลูโคสในสัดส่วน 50 กรัม จากนั้นจะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดภายหลัง 1 ชั่วโมง หากพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140 มก./ดล. จะถือว่ามีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน หลังจากนี้เพื่อความแน่ใจ คุณหมอจะให้คุณแม่ดื่นกลูโคส 100 กรัม แล้วทำการตรวจซ้ำ หากได้ค่าที่เท่ากับหรือมากกว่า 185 มก./ดล. ให้จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานได้ทันที

ความเสี่ยงของโรคเบาหวานในคนท้อง ที่อันตรายทั้งแม่และลูกในครรภ์

โรคเบาหวานในคนท้อง มีความเสี่ยงมากมายที่อาจจะทำให้เกิดการเสียชีวิตได้เลยทีเดียวค่ะ ซึ่งการเกิดภาวะเหล่านี้ สามารถเป็นได้ทั้งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้กับทั้งสองฝ่าย กรณีของคุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลสูง จะเสี่ยงทำให้เกิดความเสื่อมสภาพของระบบหลอดเลือด ดวงตา การทำงานของไต และปลายประสาท

มีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ และการเกิดความดันเลือดสูงแทรกซ้อนเข้ามา นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย เมื่อติดเชื้อแล้ว ตัวเชื้อสามารถกระจายตัวเข้าไปส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ปริมาณน้ำตาลในเลือดของแม่ที่สูง จะทำให้พัฒนาการด้านร่างกายเด็กทารกมีความผิดปกติ ร่างกายใหญ่จนเป็นอุปสรรคต่อการคลอด เป็นต้นเหตุทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด ภาวะแท้งคุกคาม หรือเด็กทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้ตามมาในที่สุดได้

ขอขอบคุณ

ภาพ :istock

ขอขอบคุณhttps://www.sanook.com/

Leave a Reply