SLE

เป็นโรค SLE (โรคเอสแอลอี) มีลูกได้ไหม ?

Views
เป็นโรค SLE มีลูกได้ไหม ? โรค SLE หรือ เอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus ; SLE) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคพุ่มพวง ถือเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองโรคหนึ่งที่มีปัญหากับการตั้งครรภ์ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในภูมิคุ้มกันของร่างกาย แทนที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา กลับทำลายเซลส์ของตัวเอง จนเกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ผิวหนัง เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินอาหาร กระดูกและข้อ ไต หัวใจ ปอด ระบบโลหิต และระบบประสาท เป็นต้น
 

สำหรับสาเหตุการเกิดโรค SLE

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่เชื่อกันว่าเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัสบางอย่าง ยาบางตัว หรือแสงอัลตราไวโอเลต

อาการของโรคเอสแอลอี

มีไข้เรื้อรัง มีผื่นขึ้นที่หน้าพาดผ่านจมูกมาที่แก้มทั้งสองข้าง เรียกกันว่า ผื่นผีเสื้อ (Butterfly Rash) ผื่นเหล่านี้มักเป็นมากขึ้นหากถูกแสงแดด หลังจากนั้นมีอาการผมร่วงบาง ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เส้นเลือดทั่วตัวอักเสบ ปลายมือและปลายเท้ากลายเป็นสีเขียวเมื่อถูกความเย็น เส้นประสาทอักเสบ สมองอักเสบ และชัก จนอาการโคม่า

– ใช้ยาต้านอักเสบ (Non Steroid Anti-inflammatory Drugs)
– ยาที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย เช่น คลอโรควิน (Chioroquine)
– ยาละลายลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin)
– ยากดภูมิต้านทาน เช่น สารสเตียรอยด์ เป็นต้น

โรคเอสแอลอี ร้ายแรงแค่ไหนต่อการตั้งครรภ์

ด้วยความที่ โรค SLE มักเกิดในคนอายุยังน้อย โอกาสตั้งครรภ์จึงมีสูงแม้จะกินยารักษาโรคนี้อยู่ก็ตาม ซึ่งผลที่ตามมาทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรงขึ้น ทั้งจากโรคและตัวยา หากเป็นโรคเอสแอลอี และกำลังรักษาอยู่ ไม่ควรปล่อยให้ตั้งครรภ์ เพราะทั้งแม่และลูกมีโอกาสเสียชีวิตจากครรภ์เสี่ยงสูง