ไข้หวัดนกสายพันธ์ใหม่H7N9ไม่มีหมวดหมู่

ทำความรู้จัก ไข้หวัดนก สายพันธ์ใหม่ H7N9

Views

ไข้หวัดนกคืออะไร

ไข้หวัดนก จัดได้ว่าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อ เอเวียน อินฟลูเอนซ่า ไวรัส (Avian Influenza virus) เป็นไวรัสในตระกูล อินฟลูเอนซ่าไวรัส (Influenza virus) สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด A, B และ C โดยเชื้อไข้หวัดนกนั้นจัดอยู่ในชนิด A โดยปกติจะมีการติดต่อระหว่างนกหรือสัตว์ปีกชนิดต่างๆ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เอเวียน อินฟลูเอนซ่า (Avian Influenza) โดยปกติแล้วจะไม่ติดต่อมาสู่คน แต่ในบางครั้งก็พบว่ามีการติดต่อมาสู่คนได้ ซึ่งในอดีตประเทศไทยก็เคยได้รับผลกระทบและเกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ H1N1และ H5N1 มาแล้ว

ไข้หวัดนก H7N9 คืออะไร

จากที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าไข้หวัดนกนั้นมีสาเหตุมาได้จากเชื้อไวรัสซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดนกที่เป็นที่กล่าวถึงในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็คือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H7N9 ซึ่งพบว่าเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดระบาดขึ้นในประเทศจีน ในช่วงปี 2556

ในปัจจุบันปี 2560 พบการระบาดที่รุ่นแรงมากขึ้น ซึ่งในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมาจากเดือน เมษายน พบผู้ป่วย รายใหม่ 10-20 ราย/เดือน รวม 343 ราย และมีอัตราการเสียชีวิตถึง 89 ราย และปัจจุบันก็ยังคงพบผู้ติดเชื้ออยู่ ซึ่งได้สร้างความตื่นตระหนกต่อนานาประเทศทั่วโลกเป็นอย่างมาก

สาเหตุของไข้หวัดนก H7N9

เชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) ชนิด A โดยพบว่าผู้ป่วยมักมีประวัติในการสัมผัสสัตว์ปีกหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต้องคลุกคลีกับสัตว์ปีก

อาการที่สำคัญ

โดยมากพบว่าผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้หวัดนกชนิด H7N9 นั้นมักจะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก ซึ่งมีอาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่โดยไม่ได้จำเพาะเจาะจงกับโรคไข้หวัดนก ได้แก่ ไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องร่วง อาเจียน มีน้ำมูกไอและเจ็บคอ และอาจพบ เลือดกำเดา หรือมีเลือดออกตามไรฟัน หากมีอาการแทรกซ้อนอาจมีอาการรุนแรงถึงปอดบวมและเกิดระบบหายใจล้มเหลว (Acute Respiratory Distress Syndrome) ได้ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ


การป้องกัน

เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดถึงกลไกการติดเชื้อ ดังนั้นวิธีที่สามารถป้องกันการติดเชื้อเบื้องต้นได้ จะเป็นวิธีที่หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ติดเชื้อไวรัส ได้แก่ ล้างมือก่อนและหลังปรุงอาหาร ล้างมือหลังจากดูแลสัตว์ หรือหลังการดูแลผู้ป่วย สามารถเลือกรับประทานหมูหรือไก่ได้ แต่จะต้องปรุงสุกโดยใช้อุณหภูมิมากกว่า 70 องศาเซลเซียสและหลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์ที่ป่วยหรือป่วยตาย

การรักษา

มีการศึกษาว่ายา Oseltamivir หรือยา Zanamevir สามารถใช้รักษาโรคไข้หวัดนก H7N9 ได้ แต่การรักษาควรเริ่มโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นถ้าหากมีอาการเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ร่วมกับประวัติที่เคยสัมผัสสัตว์ปีกภายใน 7-10 วันที่ผ่านมา หรือมีประวัติสัมผัสกับผู้ที่เป็นไข้หวัดนก หรืออยู่ในชุมชนที่มีการระบาดของไข้หวัดนก ในช่วง 14 วัน ให้รีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและได้รับยาอย่างทันท่วงที

การได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่* สามารถลดความรุนแรงของอาการจากโรคไข้หวัดนกได้

ที่มา: สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ข้อมูลจาก:https://www.bangkokpattayahospital.com

Leave a Reply