HIV

HIV กับ AIDS ต่างกันอย่างไร

Views

เอชไอวีต่างจากโรคเอดส์อย่างไร 

และเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวี จะมีอาการและความผิดปกติแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

 1.ระยะตั้งต้นเมื่อติดเชื้อไวรัสใหม่ๆ หรือ ระยะติดเชื้อปฐมภูมิ อาการผิดปกติของผู้ป่วยในระยะแรกนี้จะมีน้อย และอาการสามารถหายไปได้เองในเวลา 2 ถึง 4 สัปดาห์ ได้แก่ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มี ไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเล็กน้อย ถ่ายอุจจาระเหลว ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับอาการของ โรคไข้หวัดใหญ่ ทำให้วินิจฉัยถูกต้องได้ยาก ระยะแรกนี้ยังไม่เรียกว่า โรคเอดส์ (Primary infection) เป็นระยะที่ไวรัสเข้าไปใน “ทีเซลล์” และทำให้เซลล์เหล่านี้ตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ “ทีเซลล์” ในเลือดลดจำนวนลง เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต้านทานที่สร้างแอนติบอดี ให้สร้างแอนติบอดี้ต่อเชื้อไวรัสขึ้นมาภายในเวลา 3 ถึง 7 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อ ซึ่งแอนติบอดีนี้สามารถตรวจพบได้จากเลือด และเป็นสิ่งที่ใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ที่ชัดเจนมาก

2.ระยะติดเชื้อเรื้อรัง การติดเชื้อฉวยโอกาส อย่างรุนแรง ผู้ติดเชื้ออาจจะมีเชื้อราขึ้นที่ลิ้น หรือมี วัณโรค ปอดกำเริบ โรคเริม หรือโรคงูสวัด เกิดขึ้นได้ แต่อาการมักไม่รุนแรงมาก และมักจะรักษาโรคเหล่านี้ได้ผล ระยะนี้ของโรคก็ยังไม่เรียกโรคเอดส์ เช่นกัน (Chronic infection) หรือระยะสงบทางคลินิก (Clinical latency) ระยะนี้ เชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง และในม้าม และจะแบ่งตัวเพิ่มปริมาณในอวัยวะทั้งสองนี้เป็นส่วนใหญ่ ปริมาณของ CD 4 positive T-cell ในเลือด จะค่อยๆลดจำนวนลงอย่างช้าๆ ระบบภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคของร่างกาย จะไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ เพราะ CD 4 positive T-cell จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ ระยะนี้ส่วนใหญ่จะกินเวลานาน 7-10 ปี โดยที่ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน นอกจากนั้นการได้รับยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตอยู่ในระยะนี้ได้ยาวนานยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนสมัยที่ยังไม่มีการค้นพบยาต้านเชื้อไวรัส ซึ่งในระยะนี้ เซลล์ CD 4 positive T-cell ยังไม่ต่ำมากจนเป็นสาเหตุ

 3.ระยะที่เป็นโรคเอดส์ ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นประจำ ปริมาณของ CD 4 positive T-cell จะต่ำมาก ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร และจะมีการติดเชื้อฉวยโอกาส ในอวัยวะสำคัญอย่างรุนแรง เช่น ปอด มีอาการทางสมอง และมีมะเร็งชนิดต่างๆเกิดขึ้นได้ ที่พบบ่อย คือ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi sarcoma) และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ระยะนี้เป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายถูกทำลายเกือบทั้งหมดโดยเชื้อไวรัสนี้ ปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีไข้เรื้อรังนานเป็นเดือนๆ อ่อนเพลียมาก น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว

สรุป ก็คือระยะที่ 1 และ 2 ของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ยังไม่เรียกว่าเป็นโรคเอดส์ เราจะเรียกระยะที่ 3 ของโรคว่าเป็นโรคเอดส์เท่านั้น

การป้องกันโรคเอดส์ได้วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อโรคเอดส์ ซึ่งกระทำได้ดังนี้

  • ไม่สำส่อนทางเพศกับทั้งชายและหญิง
  • ไม่ร่วมเพศกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ หรือถ้าจำเป็นก็เลือกใช้แต่ถุงยางอนามัยที่มีคุณภาพดีทุกครั้ง โดยเฉพาะชนิดที่เคลือบ โนน็อกซินอล (N-11) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าไวรัสเอดส์ เริม ซิฟิลิส ทำให้มั้นใจยิ่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติด โดยเฉพาะการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน
  • รับบริจาคเลือดหรืออวัยวะจากบุคคลหรือสถานที่สามารถตรวจหรือส่งตรวจหาโรคเอดส์ได้เท่านั้น
  • งดเว้นการใช้ของมีคม หรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ใบมีดโกน เข็มเจาะหู เข็มสักผิวหนัง แปรงสีฟัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลราชพฤกษ์

Leave a Reply