มะเร็งเต้านม

กินอย่างไร ช่วยลดความเสี่ยง “มะเร็งเต้านม”

Views

แม้ว่าอันที่จริงแล้ว สถิติของผู้หญิงที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจ และหลอดเลือด จะมากกว่าโรคมะเร็งเต้านมถึง 10 เท่าก็ตาม แต่ผู้หญิงอย่างเราๆ หลายคนก็ยังหวาดกลัวกับโรคนี้ เพราะไม่ใช่แค่เป็นโรคมะเร็งธรรมดาๆ ที่พบในผู้หญิง 1 ใน 8 คนเท่านั้น แต่ยังกังวลเรื่องของการรักษาที่อาจต้องผ่าตัดเอาเต้านมออกไป ทำให้ผู้หญิงหลายคนแค่คิดก็ต้องถอนหายใจเสียแล้ว แต่ไม่ต้องกังวลกันให้มากเกินไปค่ะ อาหารการกินที่เราทานกันอยู่ทุกวัน หากทานเป็น เราก็จะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้

 

  1. อย่ากินมากเกินไปจนอ้วน

    istock-492364907iStock

เรื่องง่ายๆ ที่หลายๆ คนทำไม่ได้ เพราะตามใจปากมากเกินไป แต่ขอให้รู้ไว้ว่า งานวิจัยระบุว่า น้ำหนักทุกๆ 5 กิโลกรัมที่เพิ่มขึ้นในช่วงวัยผู้ใหญ่ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้มากถึง 5% เลยทีเดียว เพราะคนอ้วนมีไขมันสะสมในร่างกายมากกว่าปกติ ไขมันจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีรูปร่างอ้วนในรูปทรงลูกแอปเปิ้ล คือ อ้วนลงพุง การมีไขมันสะสมที่หน้าท้องมาก หมายถึงมีระดับฮอรโมนเอสโทรเจนมากตามไปด้วย และนั่นก็หมายถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

 

  1. เลือกทานชนิดไขมัน

    istock-531464366iStock

มีรายงานวิจัยมากมายบ่งชี้ว่า อาหารไขมันสูงเพิ่มอัตราการเกิดมะเร็งในเต้านมได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของไขมันด้วย ผู้หญิงที่บริโภคไขมันจากสัตว์ โดยเฉพาะจากเนื้อแดง และนมที่มีไขมันสูงมากที่สุด (หรือราว 28% ของพลังงาน) มีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมได้มากกว่าผู้หญิงที่บริโภคไขมันสัตว์น้อยที่สุด (หรือราว 12% ของพลังงาน) ถึง 33% และยังพบว่า น้ำมันพืช กรมไขมันไม่อื่มตัวหลายตำแหน่ง ไขมันทรานส์ น้ำมันปลา และอาหารที่มีคอเลสเตอรอล ไม่มีทีท่าว่าจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม

นอกจากนี้ไขมันจากเนื้อแดงที่ปรุงสุกโดยใช้ความร้อนสูง โดยเฉพาะวิธีปิ้งย่าง จะมีสารก่อมะเร็งเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำว่า ควรจำกัดเนื้อแดง และเนื้อสัตว์แปรรูปไม่เกินสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม

 

  1. ผักผลไม้ถนอมเต้า

    istock-584747904iStock

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งต่างเห็นตรงกันว่า การกินผักผลไม้เป็นประจำช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมได้ เพราะผักผลไม้อุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย เช่น วิตามิน เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันมะเร็งได้ นอกจากนี้ผักผลไม้ยังช่วยลดพลังงานในมื้ออาหารด้วย

 

  1. กินถั่วเหลืองพอประมาณ

    istock-500393769iStock
 

ถั่วเหลืองมีสารไอโซฟลาโวน หรือฮอร์โมนพืช ซึ่งเป็นพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์น้อยกว่าฮอร์โมนเอสโทรเจนของคน นอกจากถั่วเหลืองจะช่วยต่อต้านมะเร็งเต้านมแล้ว นักวิจัยยังเชื่ออีกว่าฮอร์โมนพืชสามารถจับกับตัวรับของฮอร์โมนเอสโทรเจน และยับยั้งเอสโทรเจนไม่ให้เข้าไปในเซลล์เต้านม ซึ่งอาจจะกระตุ้นการเจริญของเซลล์มะเร็งได้

แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่พบว่าการบริโภคถั่วเหลืองอาจกระตุ้นการเจริญของเซลล์มะเร็งที่ขึ้นกับระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนในหญิงวัยหมดประจำเดือน แต่ผลการกระตุ้นนั้นพบว่าไม่มาก นอกจากนี้การบริโภคถั่วเหลืองในวัยหนุ่มสาว จะช่วยป้องกันมะเร็งในวัยผู้ใหญ่ได้

สำหรับผู้หญิงที่ไม่มีความเสี่ยงมะเร็งเต้านม สามารถบริโภคถั่วเหลืองได้ไม่เกินวันละ 2 ส่วน แต่ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมสูง ควรบริโภคถั่วเหลืองไม่เกินสัปดาห์ละ 2-3 ส่วน และงดการเสริมสรไอโซฟลาโวนซึ่งมีปริมาณมากกว่าถั่วเหลืองหลายเท่า

(ถั่วเหลือง 1 ส่วน หมายถึง แป้งถั่วเหลือง ½ ถ้วยตวง, นมถั่วเหลือง 240 มิลลิลิตร, เต้าหู้ ½ ถ้วยตวง, โปรตีนเกษตร หรือถั่วเหลืองสุก ½ ถ้วยตวง)

 

  1. ระมัดระวังในการดื่มแอลกอฮอล์

    istock-520882792iStock

ยิ่งดื่ม ก็ยิ่งเสี่ยงมาก คิดตามกันได้ง่ายๆ การดื่มวันละ 2 ดริ๊งค์ เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ถึง 40% และเมื่อดื่มต่อเป็นดริ๊งค์ที่ 3 ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงไปถึง 70% เลยทีเดียว นอกจากนี้สำหรับผู้หญิงที่ย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้กระดูกบางได้

(1 ดริ๊งค์ เท่ากับ เบียร์ 1 กระป๋อง หรือ 1 แก้ว ขนาด 360 ซีซี, ไวน์ 1 แก้ว 150 ซีซี หรือวิสกี้ 45 ซีซี)

สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องดื่มอย่างสม่ำเสมอ ควรทางอาหารที่มีโฟเลตสูง (พบมากในผักใบเขียว น้ำส้มคั้น ถั่วต่างๆ และวิตมินรวม) จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมจากแอลกอฮอล์ได้ ปริมาณโฟเลตที่ให้ผลในการป้องกันมากที่สุดอยู่ที่วันละ 600 ไมโครกรัม

 

  1. ออกกำลังกาย

    istock-623680490iStock

การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้มากถึง 40% สำหรับหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ออกกำลังกายสัปดาห์ละเกือบ 4 ชั่วโมง สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้มากถึง 50%

 

ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงไหม สามารถเข้ารับการตรวจจากแพทย์เฉพาะทางได้ที่โรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศค่ะ