ข่าว โควิด-19

โควิด:เริ่มโผล่ตั้งแต่กันยา62 งานนักวิทย์เคมบริดจ์ชี้อู่ฮั่นไม่ใช่ต้นตอ

Views

โควิด:เริ่มโผล่ตั้งแต่กันยา62 งานนักวิทย์เคมบริดจ์ชี้อู่ฮั่นไม่ใช่ต้นตอ

โควิด:เริ่มโผล่ตั้งแต่กันยา62 – เว็บไซต์ข่าว เอ็กซ์เพรส ของอังกฤษ รายงานว่า อังกฤษเป็นอีกประเทศที่ร่วมกับสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส วิจารณ์จีนด้วยข้อสงสัยคลางแคลงใจว่าจีนปกปิดตัวเลขผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19

นอกจากนี้อังกฤษยังพยายามเจาะลึกข้อมูลการทดลองค้างคาวของนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น หลังจากเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสหรัฐมั่นใจว่า ห้องทดลองของจีนอยู่เบื้องหลังการระบาดของไวรัส ไม่ใช่ตลาดปลาหัวหนานของอู่ฮั่นอย่างที่เข้าใจตั้งแต่ทีแรก เพียงแต่เชื้อที่หลุดออกมาเป็นอุบัติเหตุ ไม่ใช่มาจากความตั้งใจที่จะใช้เป็นอาวุธชีวภาพ

นายมาร์ก เอสเพอร์ รมว.กลาโหมสหรัฐ ตอบคำถามถึงข้อสงสัยว่าเชื้อไวรัสหลุดออกมาจากห้องทดลองว่า “นั่นเป็นสิ่งที่เราติดตามดูอย่างใกล้ชิดมาพักหนึ่งจนถึงตอนนี้”

เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์ รายงานเนื้อหาสรุปจากวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences [PNAS] ที่เผยแพร่ผลการศึกษาของ ปีเตอร์ ฟอสเตอร์ นักพันธุศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษ ว่าไวรัสน่าจะปรากฏตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 ที่ภาคใต้ของจีน

ฟอสเตอร์และคณะสอบสวนต้นตอของไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด-19 โดยคำนวณช่วงเวลาที่เชื้อเริ่มแพร่ระบาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างวันที่ 13 ก.ย. ถึงวันที่ 7 ธ.ค. 2562 และปรากฏแห่งแรกยังพื้นที่ภาคใต้ของจีนมากกว่าเกิดที่อู่ฮั่น ที่ภาคกลาง

“ไวรัสน่าจะกลายพันธุ์จนถึงขั้นสุดท้ายที่มีผลต่อมนุษย์หลายเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในตัวค้างคาว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น หรือแม้แต่มนุษย์ มาหลายเดือนแล้วโดยยังไม่ติดเชื้อสู่คนอื่นๆ กระทั่งเริ่มติดเชื้อและแพร่ระหว่างคนสู่คน ช่วงวันที่ 13 กันยาฯ ถึง 17 ธันวาฯ” ฟอสเตอร์กล่าว

“ถ้าให้ผมต้องหาคำตอบ ผมคิดว่าต้นตอของการระบาดน่าจะอยู่พื้นที่ภาคใต้มากกว่าที่อู่ฮั่น แต่เรื่องนี้จะพิสูจน์ได้ก็ต่อเมื่อวิเคราะห์ค้างคาวได้มากขึ้น รวมถึงสัตว์ที่เป็นตัวโฮสต์ แล้วเทียบกับตัวอย่างผู้ป่วยตามโรงพยาบาลในจีนที่เก็บไว้ช่วงเดือนก.ย.ถึง ธ.ค.” ฟอสเตอร์กล่าว

นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ และคณะที่มาจากหลากหลายสถาบัน รวมถึงสถาบันชันสูตรพันธุกรรม มุนสเตอร์ในเยอรมนี ขยายฐานข้อมูล รวมถึงการศึกษา 1,001 อนุกรมจีโนมคุณภาพสูง ที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเผยแพร่ ระบุว่า ยิ่งได้วิเคราะห์สายพันธุ์มากเท่าใด การแกะรอยไวรัสจะแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น

สำหรับ Sars-CoV-2 ไวรัสที่ก่อโรคโควิด-19 มียีนใกล้เคียงกับโคโรนาไวรัสที่พบในมูลค้างคาวที่เก็บมาจากถ้ำในยูนนาน ภาคใต้ของจีน เมื่อปี 2556 ถึง 96% แต่มีการกลายพันธุ์ระหว่าง Sars-CoV-2 และไวรัสโคโรนาที่พบในยูนนานนับร้อยครั้ง

ปกติการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาแต่ละครั้งใช้เวลา 1 เดือน ดังนั้นจึงเชื่อว่าไวรัสใช้เวลาแพร่ระบาดอย่างเงียบๆ ในสัตว์ที่เป็นตัวโฮสต์และมนุษย์อยู่หลายปี แล้วค่อยๆ มีวิวัฒนาการปรับรูปแบบจนแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คน

การระบาดครั้งแรกของเหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ น่าจะเกิดจากการกลายพันธุ์ช่วงสุดท้ายที่ปรับสายพันธุ์ไม่เป็นอันตรายให้เป็นสายพันธุ์มรณะ

การศึกษาด้านพันธุกรรมของฟอสเตอร์ พบว่าตัวอย่างสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาที่ระบาดในอเมริกาและออสเตรเลีย มีโครงการยีนใกล้เคียงกับไวรัสในค้างคาว มากกว่าสายพันธุ์ที่พบในตัวคนไข้ถิ่นเอเชียตะวันออก ส่วนไวรัสที่ระบาดที่ยุโรปส่วนใหญ่กลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์เอเชียตะวันออก

“งานวิจัยแบบนี้จึงจะทำให้เราเข้าใจได้ว่าเชื้อส่งผ่านมาอย่างไร และจะทำให้เราป้องกันเหตุการณ์ลักษณะนี้ในอนาคตด้วย” ฟอสเตอร์กล่าว

ก่อนหน้านี้ เบรต ไบเออร์ นักข่าวของฟ็อกซ์ รายงานข้อมูลที่แตกต่างออกไปว่า ผู้ป่วยโควิดคนแรกเป็นผู้ฝึกหัดในห้องทดลอง และติดเชื้อเข้าโดยบังเอิญ ก่อนไปแพร่ต่อยังสาธารณชนของอู่ฮั่น

ส่วนรายงานสอบสวนของวอชิงตันโพสต์ พบว่า สถานทูตสหรัฐประจำประเทศจีนเคยแสดงความวิตกกังวลเรื่องมาตรการความปลอดภัยในห้องทดลองที่อู่ฮั่นยังไม่เพียงพอ ตั้งแต่เมื่อปี 2561

…….

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.khaosod.co.th/

Leave a Reply