ภูมิคุ้มกันรู้ทัน-โรคสุขภาพทั่วไป

ปกป้องเชื้อโรคและไวรัส ด้วยภูมิคุ้มกันร่างกายที่เสริมได้ด้วยการ “นอนหลับ” อย่างมีคุณภาพ

Views

ภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ เป็นปราการด่านแรกที่ทำหน้าที่ปกป้องและต่อสู้กับเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัสต่างๆ ที่ทำให้เราเจ็บไข้ได้ป่วย ยิ่งท่ามกลางสถานการณ์โรคภัยในปัจจุบันนี้ การดูแลร่างกายให้มีภูมิคุ้มกันที่ดียิ่งเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้อาจจะป้องกันไม่ได้ 100% แต่ภูมิคุ้มกันที่ดี จะช่วยให้อาการป่วยไม่รุนแรงและฟื้นตัวได้เร็ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นได้เอง จากการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ

อาจจะดูแล้วเหมือนง่ายที่แค่นอนหลับแล้วจะเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ ยิ่งช่วงนี้ที่ใครหลายคนๆ ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านตลอดเวลาจะทำให้มีเวลานอนหลับได้มากขึ้น แต่ด้วยวิถีชีวิตคนเมืองในปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่าง ที่ทำให้เราไม่ได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพ อย่างเช่น ความเครียด ไม่ว่าจะมาจากการทำงาน การเสพข่าวเรื่องโรคระบาดจนเป็นกังวล หรือแม้แต่การที่ไม่ได้ใช้ชีวิตออกไปผ่อนคลายนอกบ้านตามแบบที่เคยชินมา สาเหตุเหล่านี้มักจะสร้างความเครียดเล็กๆ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับระบบการหลั่งสารเมลาโทนินของร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง เพื่อให้เรานอนหลับเพื่อพักผ่อน

นอนมากไม่เท่ากับนอนหลับอย่างมีคุณภาพ

ในช่วงที่หลายๆ คนทำงานที่บ้านได้มีโอกาสตื่นสาย ได้นอนนานกว่าวันปกติที่ต้องตื่นแต่เช้าไปทำงาน สิ่งเหล่านี้ไม่ได้แสดงว่าร่างกายได้พักผ่อนฟื้นฟูและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่ หรือแม้แต่ผู้ที่นอนหลับครบ 7-8 ชั่วโมง ตามที่ได้รับการแนะนำกันมานาน เพราะโครงสร้างร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นระยะเวลานอนหลับอย่างมีคุณภาพของแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน แล้วเราจะชี้วัดจากอะไรล่ะ ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ สูตินรีแพทย์และแพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย กล่าวไว้ว่า “การเข้านอนอย่างมีคุณภาพ จะต้องเข้านอนตรงเวลาตามนาฬิกาชีวิต หรือ Circadian Rhythm คือเวลาประมาณ 3 ทุ่มร่างกายของเราจะเริ่มผลิตเมลาโทนิน ประมาณ 4-5 ทุ่มก็จะเริ่มเคลิ้มๆ แล้วจะค่อยๆ หลับมากขึ้นเรื่อยๆ จนหลับสนิทไปเลย” นอกจากนี้ คุณหมอยังให้ข้อสังเกตว่าเรานอนหลับดีหรือใหม่ ก็คือ ตอนเข้านอนปั๊บหลับเลยหรือเปล่า และตอนตื่นเรารู้สึกสดชื่นไม่มีการง่วงระหว่างวันหรือไม่ แต่ถ้าหากคุณปิดไฟเข้านอนแล้วยังนอนไม่หลับ หรือตื่นมาแล้วยังรู้สึกง่วงอยู่ตลอดเวลานั้นควรจะต้องหา เมลาโทนิน มาช่วยให้นอนหลับอย่างมีคุณภาพแล้วล่ะ

เราจะเลือกซื้อเมลาโทนินแบบไหน

ในปัจจุบันเราอาจจะเห็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเมลาโทนินในตลาดมากมาย เราจะทราบได้อย่างไรว่าเมลาโทนินเหล่านั้นสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยและได้มาตรฐานและไม่มีผลข้างเคียงจากการใช้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและนอนหลับอย่างได้ผล เราควรปรึกษาเภสัชกรและใช้เมลาโทนินที่ได้รับอนุญาตจาก อย. โดยซื้อที่ร้านขายยาเท่านั้น ซึ่งราคาอาจจะสูงสักหน่อยแต่ก็มั่นใจว่าได้ผลและปลอดภัยในการใช้ ถึงแม้ว่าเมลาโทนินจะไม่มีผลข้างเคียงในการใช้ และใช้ได้นาน แต่ต้องเข้าใจการใช้เมลาโทนินเพื่อปรับสมดุล บวกการปรับพฤติกรรม เพื่อให้เข้าใจการนอนที่ถูกต้อง การไปปรึกษาร้านขายยาจึงปลอดภัยที่สุด นอกจากนี้ การใช้เมลาโทนินช่วยการนอนหลับควรเลือกใช้ที่เป็นแบบที่สามารถออกฤทธิ์ได้ต่อเนื่อง เพราะตัวยาจะค่อยๆ ปล่อยเมลาโทนินตลอดเวลานอนเพื่อให้เราหลับสนิทได้ยาวนานตลอดคืน หากไม่ใช่แบบนี้ อาจทำให้นอนหลับแต่หลับไม่มีคุณภาพ นอนได้แค่ 2-3 ชั่วโมงแล้วตื่น ซึ่งยิ่งทำให้แย่เข้าไปอีกเพราะจะหลับไม่ได้ ยิ่งแย่ต่อสุขภาพ และที่สำคัญ ไม่ควรหันไปทานยานอนหลับ เช่น กลุ่มยา Benzodiazepines ที่รู้จักดีเช่น Diazepam Alprazolam ยากลุ่มนี้ต้องมีแพทย์ควบคุมการใช้ ทานไปจะติดยา ดื้อยา ในขณะที่ เมลาโทนิน ชนิดออกฤทธิ์ต่อเนื่อง เช่นที่ขึ้นทะเบียน อย. ในบ้านเรา ไม่ทำให้คุณติดยา ดื้อยา

Recheck ตัวเอง ว่าต้องการเมลาโทนินหรือไม่

ลองรีเช็กตัวเองถ้าหากคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้ ลองปรึกษาเภสัชกรเพื่อแก้ปัญหาด้วยเมลาโทนิน

     • อายุ เริ่มต้นเลข 5 ทานได้ทุกคน เพื่อป้องกันโรคนอนไม่หลับ

     • นอนหลับยาก กระสับกระส่าย

     • ตื่นกลางดึกบ่อย และหลับต่อยาก

     • ตื่นเช้าแล้วไม่สดชื่น และง่วงนอนระหว่างวัน ถึงแม้จะนอนนานถึง 7-8 ชั่วโมง

     • ติดยานอนหลับ และต้องการเลิกยานอนหลับ

     • ควบคุมสุขบัญญัติการนอนไม่ได้ เช่น แสงสว่าง เสียงดัง อุณหภูมิ จึงต้องหาตัวช่วย

     • Jet Lag หรือทำงานเป็นกะ รวมถึงคนที่ต้องการปรับเวลานอน
แต่ถ้าหากคุณมีอาการนอนไม่หลับหนักกว่าที่กล่าวมาควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

คุณประโยชน์มากมายที่ได้จากการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าเป็นการฟื้นฟูร่างกายและสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัสและโรคต่างๆ ถ้าคุณนอนหลับยากลองใช้เมลาโทนินเป็นตัวช่วย ที่สำคัญต้องซื้อชนิดออกฤทธิ์ต่อเนื่อง ที่ขึ้นทะเบียนกับ อย. และควรซื้อจากเภสัชกรที่ร้านขายยาเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยและนอนหลับอย่างมีคุณภาพที่จริง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ไทยรัฐออนไลน์

Leave a Reply